Page 46 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          37


                         หอมแดงมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ
                  ผสมกับน้ ามันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือดแล้วน ามาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ าตาล
                  ในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง

                         การปลูกด้วยหัว
                         หัวหอมแดงจะฟักตัว และพร้อมปลูก ได้ประมาณ 4 เดือนล่วงไปแล้ว การเตรียมดินท าในลักษณะ
                  เดียวกันกับแปลงเพาะกล้า ใช้หัวพันธุ์มีน้ าหนักอยู่ระหว่าง 4-5 กรัม ให้ระยะปลูกระหว่างหัว 10 เซนติเมตร
                  ระยะปลูกระหว่างแถว 20 เซนติเมตร อย่าให้หัวจมดินจนมิดปิดคลุมดิน ภายหลังปลูกด้วยฟาง หอมแดงปลูก

                  ด้วยหัว อาจปลูกได้ 2 ครั้ง ครั้งแรกปลูกต้นเดือนพฤษภาคมและเก็บหัวได้ราวปลายเดือนกรกฎาคม ครั้งที่สอง
                  ปลูกต้นเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวปลายเดือนธันวาคม เราอาจเก็บเกี่ยวภายใน 55-60 วันหลังจากปลูกก็ได้
                  แต่หัวหอมยังแก่ไม่เต็มที่ น้ าหนักหัว หรือผลผลิตอาจต่ ากว่าปกติ

                         กระเทียม
                         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
                         วงศ์ : Alliaceae
                         ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
                         ชื่ออื่น :กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว(ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)

                         ลักษณะทั่วไป
                         เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะ
                  มีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า “กระเทียมโทน”  แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ

                  กระเทียมมีรากไม่ยาวนักใบมีลักษณะยาวแบนปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อมีสีขาว
                  ติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อนไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามใบ
                  ประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-8
                  เซนติเมตร เนื้อใบมีจุดน้ ามันกระจายก้านใบมีครีบเล็กๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบกลีบ

                  ดอกสีขาว กลิ่นหอมร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยงฉ่ าน้ า
                         กระเทียมอยู่ในตระกูล เดียวกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกุ่ยฉ่าย โดยกระเทียม จะสร้าง
                  กลีบหลาย ๆ กลีบและถูกห่อหุ้ม รวมกันอย่างใต้เปลือก ซึ่งมีลักษณะบาง สีขาวหรือชมพู หุ้มให้เป็นตัวเดียว ใบ
                  เป็น ใบเลี้ยงเดี่ยว และแบน สามารถออกดอก และให้เมล็ดได้ นิยมขยายพันธุ์ด้วย กลีบเพราะให้ ผลดีกว่า

                  กระเทียมจะมีคุณค่าทางอาหารต่ า เมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักอื่น ๆ แต่อาหารบางชนิดจะหมดรสชาติ ถ้าหาก
                  ขาดกระเทียม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมรสและกลิ่นของกระเทียม นอกจากนี้ยัง ใช้เป็นยา สมุนไพรรักษาแผล
                  หลอดลมอักเสบ ไอ ท้องอืด เฟ้อ อาหารไม่ย่อย โรคผิวหนังบางประเภท และความดันโลหิตสูง
                         กระเทียม เป็นพืชผักประเภทเนื้ออ่อนขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 75-180 วัน ปกติเจริญเติบโตได้ดีใน

                  อากาศเย็นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 12-22 องศาเซลเซียส ช่วงแสงแดดยาวประมาณ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
                  มีระยะการพักตัวเช่นเดียวกับพืชตระกูลหอมทั่ว ๆ ไป ประมาณ 5-6 เดือน ถ้าหากเก็บรักษานานกว่านี้ จะเริ่ม
                  ฝ่อหรืองอก โดยในปีแรกกระเทียมจะฝ่อเสียหายประมาณร้อยละ 60-70

                         กระเทียมที่ใช้เป็นอาหารมีอยู่ 2 ประเภท คือ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51