Page 48 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          39


                         กระเทียมปลูกโดยใช้กลีบ ซึ่งประกอบเป็นหัว นิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่
                  จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง การน ากระเทียมไปปลูกในฤดูฝน จะท าให้กระเทียมงอกไม่พร้อมกัน
                  โตไม่สม่ าเสมอกัน ขนาดของกลีบจะมีอิทธิพลหรือความส าคัญต่อการลงหัวของกระเทียม จากการศึกษาพบว่า

                  พันธุ์ที่มีกลีบใหญ่ ถ้าหากใช้กลีบขนาดกลางปลูกจะท าให้ผลผลิตสูง พันธุ์ที่มีกลีบขนาดเล็ก ถ้าใช้กลีบใหญ่ที่สุด
                  ปลูกจะให้ผลผลิตสูง ปกติกลีบที่มีน้ าหนัก 2 กรัม จะให้ผลผลิตสูง การปลูกอาจให้น้ าก่อน และใช้กลีบ
                  กระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ เป็นแถวตามระยะปลูกที่ก าหนด ใน
                  พื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กิโลกรัม หรือกลีบ 75-80 กิโลกรัม ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10x10-15

                  เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงที่สุด ส าหรับกระเทียมจีนใช้ระยะปลูก 12-12 เซนติเมตรและหัวพันธุ์ 300-350
                  กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูกจะใช้ฟางคลุมแปลงเพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก เก็บความชื้นและลดความ
                  ร้อนเวลากลางวัน

                         การให้น้ ากระเทียม
                         ควรให้น้ าก่อนปลูก และหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ าอย่างเพียงพอ และสม่ าเสมอในช่วงระหว่าง
                  เจริญเติบโต 7-10 วันต่อครั้ง สรุปแล้วจะให้น้ าประมาณ 10 ครั้งต่อฤดู ควรงดการให้น้ าเมื่อกระเทียมแก่จัด
                  ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์
                         การคลุมดิน

                         หลังปลูกกระเทียม ควรคลุมดินด้วยฟางข้าวแห้ง เศษหญ้าแห้ง หรือเศษวัสดุที่สามารถผุพังเน่าเปื่อย
                  อื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อควบคุมวัชพืชที่จะมีขึ้นในระยะแรก รักษาความชื้นในดิน ประหยัดในการให้น้ าและลดอุณหภูมิ
                  ลงในเวลากลางวัน ท าให้กระเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ดี

                         การใส่ปุ๋ยกระเทียม
                         ปุ๋ยที่แนะน า ให้ใช้ส าหรับกระเทียม ในบ้านเรา ควรมีส่วนของไนโตรเจนเท่ากับ 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1
                  ส่วน และโปแตสเซี่ยม 2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 10-10-15  13-13-21 เป็นต้น อัตราปริมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อ
                  ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก แล้วพรวน

                  กลบลงในดิน ปริมาณครึ่งหนึ่งและใส่ครั้งที่ 2 ใส่แบบหว่านทั่วแปลง เมื่ออายุประมาณ 30 วันหลังปลูก ควรใช้
                  ปุ๋ยเสริมไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรียแอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก อัตรา
                  ประมาณ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุประมาณ 10-14 วันหลังปลูก
                         การก าจัดวัชพืช

                         กระเทียมเป็นพืชที่มีรากตื้น ดังนั้นควรก าจัดวัชพืชในระยะที่วัชพืชเริ่มงอก ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้
                  นอกจากจะแย่งน้ าอาหารและแสงแดดจากกระเทียมแล้ว เมื่อถอนจะท าให้รากของกระเทียมกระเทือนท าให้
                  ชะงักการเจริญเติบโต หรือท าให้ต้นเหี่ยวตายได้ ฉะนั้นเมื่อวัชพืชมีขนาดใหญ่ควรใช้มีดหรือเสียมมือเล็ก ๆ แซะ
                  วัชพืชออก ส่วนสารเคมีก าจัดวัชพืชที่เกษตรกรในบ้านเรานิยมใช้กันมากคือ อะลาคอร์ (ชื่อการค้า= แลสโซ่)

                  อัตรา 0.36-.045 กิโลกรัมต่อไร่ (ของเนื้อยาบริสุทธิ์) โดยพ่นคุลมดินหลังปลูกก่อนที่กระเทียมและวัชพืชงอก
                  นอกจากนี้ยังใช้ยาพาราควอท (ชื่อการค้า=กรัมม๊อกโซน) พ่นตามร่องน้ าระหว่างแปลงทุกครั้งหลังจากให้น้ า
                         การก าจัดโรค-แมลงศัตรูที่ส าคัญของกระเทียม
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53