Page 40 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          31


                         ธินีกาญจน์ (2547)  พบว่า  ผักกวางตุ้งมีความยาวใบ น้ าหนักสดพร้อมราก และน้ าหนักสดหลังตัดแต่ง
                  รากสูงที่สุด  เมื่อใช้น้ าสกัดชีวภาพเปลือกสับปะรด  เช่นเดียวกับงานทดลองของ วนิดา (2547)  พบว่า  น้ า
                  สกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ทั้งตัว (พร้อมเปลือก ไข่หอยเชอรี่ และเนื้อหอยเชอรี่)  ส่งผลให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งมี

                  การเจริญเติบโตด้านความสูง ความกว้างใบ ความยาวใบ และน้ าหนักสดสูงกว่าการไม่ใช้น้ าสกัดชีวภาพ
                         ในท านองเดียวกัน  อรุโณทัย  (2547)  พบว่า  การใช้น้ าสกัดชีวภาพ อัตรา 1 มิลลิลิตรต่อน้ า  1 ลิตร
                  ท าให้ผักกวางตุ้งฮ่องเต้มีการเจริญเติบโตสูงสุด คือ มีความสูงต้น 18.33 เซนติเมตร ความกว้างใบ 9.64
                  เซนติเมตร ความยาวใบ 13.18 เซนติเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางล าต้น 9.65 เซนติเมตร จ านวนใบ 20 ใบ

                  น้ าหนักสดพร้อมราก 192.40 กรัม และน้ าหนักสดหลังตัดแต่งราก 181.30 กรัม  แต่ ถ้าใช้น้ าสกัดชีวภาพอัตรา
                  ความเข้มข้นสูงขึ้น มีผลให้ผักกวางตุ้งฮ่องเต้มีการเจริญเติบโตลดลง  และ  งานทดลองของ  วิฑูรย์  (2547)
                  พบว่า  น้ าสกัดชีวภาพที่ผสมกากน้ าตาลหรือน้ าตาลทรายแดงหรือน้ าตาลทรายขาวหรือน้ าตาลไม่ฟอกสี  ท าให้

                  ผักคะน้ามีการเจริญเติบโต (ความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบ) และน้ าหนักสดสูงกว่าการไม่ใช้น้ าสกัด
                  ชีวภาพ
                         คะน้า (ChineseKale)
                         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica alboglabra Bailey
                         กรมวิชาการเกษตร (2536)  แนะน าว่า การปลูกคะน้าควรเตรียมดินโดยขุดให้ลึกจากหน้าดินลงไป

                  ประมาณ 30 เซนติเมตร ตากหน้าดินเอาไว้ประมาณ 1 สัปดาห์  จากนั้นให้ผสมดินเข้ากับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
                  คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงรดน้ าให้ชุ่ม  หว่านเมล็ดคะน้าลงในแปลงที่เตรียมเอาไว้อัตรา 1.5-2 กิโลกรัมต่อไร่
                  หรืออาจจะใช้วิธีหยอดเมล็ดลงหลุม  โดยให้ระยะระหว่างหลุม   20 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 20

                  เซนติเมตร จากนั้นหว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกลงปกคลุมหน้าดินบางๆ  หาเศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวมาคลุมทับ
                  หน้าดินเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง  รดน้ าให้ชุ่ม  ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7  21-11-11 หรือ 12-8-8 อัตรา 75-150 กิโลกรัม
                  ต่อไร่  แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง คือ  ช่วงเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อไร่  ครั้งที่ 2  เมื่อคะน้าอายุ 20 วัน
                  ให้ถอนแยกต้นอ่อนแอหรือมีลักษณะไม่สมบูรณ์ทิ้ง  ใส่ปุ๋ยอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ และ  ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ

                  30 วัน ใส่ปุ๋ยอัตรา  25-50  กิโลกรัมต่อไร่ ระหว่างนี้ต้องหมั่นดูแลรดน้ าพรวนดินอยู่เสมอเพราะหากคะน้าขาด
                  น้ าก็อาจหยุดชะงักการเจริญเติบโตได้ง่าย  เมื่อคะน้าอายุ 45 วัน  เป็นระยะที่ตลาดต้องการมากที่สุด  แต่ถ้า
                  เก็บที่ระยะโตเต็มที่ คือ 50-55 วัน  จะได้น้ าหนักดีกว่า
                         นิสุดา และอิสริยา (2551) พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่สูงขึ้น  โดยเสริมด้วยปุ๋ย

                  อินทรีย์น้ า  มีแนวโน้มท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  และ มีค่าเฉลี่ย
                  น้ าหนักผลผลิตคะน้าสูงขึ้น
                         กล้วยหอมทอง
                            ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa Sapientum

                         กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง
                  กล้วยหอมเขียว จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ อาทิเช่น มี
                  วิตามินไฟเบอร์ ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญของ

                  จุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า Escherichia coli ที่เชื่อว่าท าให้เกิดอาการท้องร่วงได้ เป็นต้น ซึ่งกล้วยหอมได้ถูกจัดว่าเป็น
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45