Page 39 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          30


                         7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
                         8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
                         9. ส่วนที่เจริญต่ ากว่าผิวดินช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ

                  (ที่มา : http://www.land.arch.chula.ac.th/fieldtrip47/group1/26 มิถุนายน 2558)
                         ผักกวางตุ้ง (PAKCHOI,MUSTARD (Chinese) )
                         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica chinensisJuslvarparachinensis (Bailey) Tsen& Le
                         ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินร่วนปนทรายที่มี

                  ความอุดมสมบูรณ์ดี มีอินทรียวัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)  ควรอยู่ระหว่างสภาพเป็นกรด
                  เล็กน้อยจนถึงปานกลาง คือ pH  อยู่ระหว่าง 6-6.8 ชอบดินที่มีความชื้นสูงเพียงพอสม่ าเสมอ ได้รับแสงแดด
                  เต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตามในประเทศไทยสามารถ

                  ปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งได้ตลอดปี เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียม
                  ดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วท าการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ย
                  หมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วท าการไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพ
                  เป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH  ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ยาว
                  ประมาณ 10 เมตร หรือ ตามความเหมาะสมในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมท ากัน 2 วิธีด้วยกัน คือ

                            1. การปลูกแบบหว่านเมล็ดโดยตรง วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ ากว้าง และพื้นที่
                  ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็ก
                  มาก ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน แล้ว

                  หว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ าเสมอ แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ  0.5-1 เซนติเมตร
                  หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ าให้ชุ่มหลังจากงอกได้
                  ประมาณ 20 วัน ควรท าการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น  20-25 เซนติเมตร
                            2. การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงท าร่องลึกประมาณ 1.5-2

                  เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร น าเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วท า
                  การโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆรดน้ า
                  ให้ชุ่มด้วยสม่ าเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึงท าการถอนแยกในแถว โดย
                  พยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

                            การให้น้ า  เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ ามาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
                  ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ าอย่างเพียงพอและสม่ าเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้
                  สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ าในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะท าให้ผักกาดเขียว
                  กวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้

                            การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-
                  0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น
                  หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50  กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการ

                  ราดน้ าตามทันทีอย่าให้ปุ๋ยตกค้าง
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44