Page 38 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          29


                  คล้ายหัวใจสีน้ าตาลหรือด า เมล็ดหนึ่งกิโลกรัมจะมีเมล็ดจ านวน 40,000-50,000 เมล็ด หรือหนึ่งลิตรจะมี
                  ประมาณ 34,481 เมล็ด
                         วิธีปลูก

                         1. ปลูกแบบหว่านเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงานโดยการน าเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่าน
                  ลงไปในแปลงให้ทั่วในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
                         2. ปลูกแบบโรยเป็นแถว โดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลง
                  ในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบางๆ ใช้อัตราเมล็ด 3–4 กิโลกรัมต่อไร่

                         3. ปลูกแบบหยอดหลุมวิธีนี้ล่าช้าและไม่สะดวกในทางปฏิบัติอีกทั้งสิ้นเปลืองแรงงาน  ไม่เป็นที่นิยม ใช้
                  ในกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จ ากัดมาก ใช้ระยะปลูก 50x100 เซนติเมตรหยอดเมล็ด 2–3 เมล็ดต่อหลุม ใช้อัตราเมล็ด
                  1–3 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากปอเทืองออกดอกช่วงอายุประมาณ 50–60 วัน  ก็ไถกลบ การไถกลบควรจะไถ

                  ขณะที่มีความชื้นอยู่ในดินพอสมควร
                         การใช้ประโยชน์ ปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพพื้นที่ดอน โดยปลูกใน
                  รูปแบบของพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ด ก่อนการปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวโพด มันส าปะหลัง อ้อย เป็น
                  ต้น อย่างน้อย 2.0-2.5 เดือน แล้วไถกลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50–60 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้ง
                  ไว้ 7–10 วัน ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกหลังจาก

                  พืชหลักประมาณ 1–2  สัปดาห์
                         หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ  ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย  ซึ่งพบ
                  กระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติจากการส ารวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิดและ

                  ส ารวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่
                         1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี ก าแพงเพชร2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพันธุ์
                  พระราชทาน
                         2.  กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด ก าแพงเพชร1 นครสวรรค์

                  และเลย เป็นต้น
                         หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาวขอบขนานปลาย
                  สอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อ
                  ดอกตั้งประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจ านวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

                         ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
                         การที่หญ้าแฝกถูกน ามาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ าเนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
                         1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอเบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
                         2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ไม่ต้องดูแลมาก

                         3. หญ้าแฝกมีข้อที่ล าต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
                         4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ท าให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
                         5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย

                         6. ระบบรากยาวสานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ า
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43