Page 36 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          27


                  ธาตุ (minerals)  เนื่องจากการย่อยสลายเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ผลิตสารเร่ง
                  ซุปเปอร์ พด.2 ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชและสัตว์ในลักษณะอวบน้ า
                  หรือมีความชื้นสูง โดยด าเนินกิจกรรมการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนจะได้ของเหลวที่ประกอบด้วยกรด

                  อินทรีย์และฮอร์โมน
                         การผลิตน้ าหมักชีวภาพ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 มีส่วนผสมในการผลิตน้ าหมักชีวภาพ คือ เศษ
                  เนื้อสัตว์และผลไม้หรือผักผลไม้ 40 กิโลกรัม  กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม  น้ า 10 ลิตร  สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
                  จ านวน 1 ซอง (25 กรัม) ใช้ระยะเวลาหมัก 21 วัน  วิธีการใช้น้ าหมักชีวภาพในสวนไม้ผล สามารถท าได้ดังนี้

                  ผสมน้ าหมักชีวภาพ เข้มข้น 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 500 ลิตร  ฉีดพ่นที่ใบและล าต้น 10 วันต่อครั้ง  หรือรดลงดิน
                  บริเวณทรงพุ่ม อัตราน้ าหมักชีวภาพ เข้มข้น 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 200 ลิตร หรือผสมสารละลายผ่านระบบการ
                  ให้น้ าพืช เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชเพิ่มการขยายตัวของใบและการยืดตัวของล าต้น ท าให้การออกดอก

                  และการติดผลดีขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2547)
                         นอกจากนี้ สุริยา (2542)  ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ าสกัดชีวภาพไว้ดังนี้คือ เป็นน้ าสกัดที่ได้จาก
                  การย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆ ของพืชหรือสัตว์  โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่ไม่มี
                  ออกซิเจน (anaerobic condition) มีจุลินทรีย์ท าหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านี้ให้กลายเป็น
                  สารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซม์เพื่อเร่งการย่อยสลายได้อย่าง

                  รวดเร็วยิ่งขึ้น จุลินทรีย์ที่พบในน้ าสกัดชีวภาพมีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน มักเป็นกลุ่ม
                  แบคทีเรีย Bacillus sp. Lactobacillus sp. และ Streptococcus sp.  นอกจากนี้อาจพบกลุ่มเชื้อรา ได้แก่
                  Aspergillusnige Pennicilliu, Rhizopus และยีสต์ ได้แก่  Canida ap. และ  Sacarsmycetes

                         ยงยุทธ (2542)  ได้ให้ทัศนะถึงน้ าสกัดชีวภาพดังนี้ “สารสกัดจากพืชหรือสัตว์”  จะมีน้ าเป็น
                  องค์ประกอบในเซลล์พืชหรือสัตว์อยู่มาก เมื่อน ามาหมักรวมกับน้ าตาลที่ละลายในน้ าเป็นลักษณะน้ าเชื่อมหรือ
                  อาจใช้โมลาส ซึ่งเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ าภายในเซลล์ของพืชหรือสัตว์ ท าให้ผนังเซลล์สูญเสีย
                  สภาพหรือที่เรียกว่าเซลล์แตก  อินทรีย์สารที่อยู่ในเซลล์จึงละลายรวมอยู่ในน้ าเชื่อมเหล่านั้น ขณะเดียวกัน

                  จุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ จะเข้ามาช่วยสลายเศษซากพืชหรือสัตว์ด้วย  ดังนั้นอินทรีย์สารที่ได้จากการ
                  ย่อยสลาย จึงมีทั้งจากของเดิมที่ได้จากพืชและของใหม่ ที่ได้จากการสังเคราะห์โดยจุลินทรีย์ขณะที่เกิด
                  กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารที่ถูกย่อยสลายจะมีโมเลกุลขนาดเล็กท าให้พืชดูดซึมได้ง่าย แต่สารต่าง ๆ  ที่
                  ได้จะมีปริมาณเล็กน้อย  เพราะวัสดุที่ใช้ยังสดอยู่จึงมีน้ าเป็นองค์ประกอบอยู่มาก ขณะที่อินทรีย์สารที่มีอยู่น้อย

                  กว่าวัสดุแห้ง เมื่อเปรียบเทียบที่น้ าหนักเท่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้แต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจาก
                  วัตถุดิบคือซากพืชซากสัตว์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโดยเฉพาะอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงจะท า
                  ให้คุณภาพในแต่ละครั้งไม่สม่ าเสมอ น้ าสกัดชีวภาพที่ได้มาจากการหมักเศษพืชหรือสัตว์นั้น  ถึงแม้ไม่ได้ใส่
                  กากน้ าตาล  พืชและสัตว์  ซึ่งเป็นอินทรียสารก็จะถูกย่อยสลายโดยกระบวนการทางธรรมชาติอยู่แล้ว  แต่การที่

                  ใส่กากน้ าตาลลงไปเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานหรืออาหารของจุลินทรีย์  จึงท าให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้นกว่า
                  การย่อยสลายตามธรรมชาติทั่วไป  กระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารนั้นมีจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่มและ
                  หลังกระบวนการเสร็จสิ้นก็ยังคงมีจุลินทรีย์อยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมว่าเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ

                  จุลินทรีย์ชนิดใด (ภาวนา, 2542)
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41