Page 35 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          26


                  14  (ที่มา :http://ora.kku.ac.th/res_kku/Abstract/AbstractView.asp?Qid=-955030170 26  มิถุนายน
                  2558)
                         ศึกษาการไถกลบตอซังข้าวเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

                  พบว่า การไถกลบตอซังข้าวในอัตราสูง ตั้งแต่ 2,000-2,500 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้น้ าหนักฟางข้าวและผลผลิต
                  เมล็ดข้าว กข.23 สูงสุด (ที่มา:http://elibrary.ldd.go.th/library/Abstract/ord/abst/A190.htm วันที่ 8
                  มีนาคม 2553)
                         พัชรี และคณะ (2548)  พบว่า ผลผลิตข้าวสูงที่สุด คือ วิธีการไถกลบตอซังร่วมกับฟางข้าว คืออัตรา

                  400 กิโลกรัมต่อไร่ และแกลบด า อัตรา 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าว 1,033 กิโลกรัมต่อไร่
                         ประชา และคณะ (2536) พบว่า การไถกลบตอซังข้าวอัตราตั้งแต่ 2,000–2,500 กิโลกรัมต่อไร่  จะท า
                  ให้น้ าหนักฟางข้าว และผลผลิตเมล็ดข้าวสูงสุด

                         ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์หลายชนิดในการย่อยสลายสารอินทรีย์  ซึ่งเป็น
                  องค์ประกอบของเศษพืชหรือวัสดุเหลือใช้ชนิดต่างๆ  จนกระทั่งได้สารอินทรีย์ที่มีความคงทน  ไม่มีกลิ่นสี
                  น้ าตาลปนด า เนื่องจากการย่อยสลายเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์  กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ผลิตสารเร่งซุปเปอร์
                  พด.1 ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  เพื่อผลิตเป็นปุ๋ย
                  หมักในระยะเวลาสั้น  กลุ่มจุลินทรีย์ดังกล่าวประกอบด้วย  เชื้อแบคทีเรีย แอคติโนมัยซีส  และเชื้อราการผลิต

                  ปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 มีส่วนผสมในการผลิตดังนี้ คือ วัสดุเศษพืช 1 ตัน  มูลสัตว์  200 กิโลกรัม
                  ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม  สารเร่งซุปเปอร์ พด.1  จ านวน 1 ซอง (100 กรัม)  ขั้นตอน  การท ามีดังนี้ คือละลายสาร
                  เร่งซุปปอร์ พด.1 ในน้ า 20 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ตั้งกองปุ๋ยหมักให้  มีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร

                  และสูง 1.5 เมตร รดสารละลายซุปเปอร์ พด.1 ลงในกองปุ๋ยหมัก ควบคุมความชื้นให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 60
                  กลับกองปุ๋ยพร้อมรดน้ าทุก 10 วัน เป็นจ านวน 4 ครั้ง ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว และสามารถน าไปใช้ได้
                  จะมีสีน้ าตาลเข้มด า ยุ่ยละเอียดไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่มีความร้อนในกองปุ๋ยหมัก วิธีการใส่ปุ๋ยหมักในผักอัตรา
                  ประมาณ 2 ตันต่อไร่  ให้ทั่วแปลงผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันไถเตรียมดิน ด้วยการไถดะ 1 ครั้ง ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน

                  เพื่อก าจัดแมลงโรคและวัชพืช แล้วท าการไถพรวน 1 ครั้ง จะท าให้ดินมีเนื้อละเอียดร่วนซุยเหมาะแก่การปลูก
                  พืชผัก ยกร่องแปลงผักสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 30-50 เซนติเมตร ขนาดแปลงผัก
                  กว้างประมาณ 1.5 เมตร จะช่วยในการระบายน้ าของดินดีขึ้น  ประโยชน์ที่ได้จากปุ๋ยหมักในแปลงผัก ปรับปรุง
                  สมบัติทางกายภาพดิน ท าให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศ และการอุ้มน้ าของดินดีขึ้น  เป็นแหล่งธาตุอาหาร

                  พืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้าง
                  สูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อยออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก เพิ่มความต้านทานต่อการ
                  เปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  และเพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ท าให้ปริมาณและกิจกรรม
                  จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน,2544)

                         น้ าหมักชีวภาพ หมายถึง  ของเหลวที่ได้มาจากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ลักษณะสด
                  โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ าตาล
                  ซึ่งประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรท (carbohydrates)  กรดอินทรีย์ (organic  acid)  กรดอะมิโน (amino acid)

                  กรดฮิวมิก (humic acid)  น้ าย่อย (enzymes)  วิตามิน (vitamins)  ฮอร์โมน (growth  hormones) และแร่
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40