Page 37 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          28


                         ประโยชน์น้ าหมักชีวภาพร่วมกับการไถกลบตอซังเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหมักตอซังเป็นแหล่ง
                  ของสารเสริมการเจริญเติบโต ประกอบด้วย ฮอร์โมน  กรดอินทรีย์  กรดอะมิโน  และวิตามินกระตุ้นการเจริญ
                  และเพิ่มจุลินทรีย์ดินย่อยสลายตอซังให้ตอซังอ่อนนุ่มได้เร็วมากขึ้น

                         จุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช หมายถึง จุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืช สามารถ
                  ท าลายและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรคพืชได้ โดยวิธีการแข่งขันการใช้อาหารเพื่อการเจริญได้ดีกว่า เชื้อ
                  โรคพืช หรือการเข้าท าลายเซลล์ของเชื้อโรคพืชโดยตรง และหรือการสร้างสารปฏิชีวนะยับยั้งการเจริญของเชื้อ
                  โรคพืช

                         สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน โดยมี
                  ความสามารถป้องกันหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชที่ท าให้เกิดอาการรากเน่าหรือโคนเน่าในพืชที่ปลูกใน
                  สภาพที่ดอนและลุ่ม โดยกลุ่มจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ประกอบด้วยเชื้อไตรโคเดอร์มา

                  (Trichoderma sp.) และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus sp.)
                         การขยายเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยใช้สารเร่ง พด.3 มีส่วนผสมในการผลิต
                  เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช คือ ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม  ร าข้าว 1 กิโลกรัม  สารเร่งซุปเปอร์ พด.3
                  จ านวน 1 ซอง (25 กรัม)  ใช้ระยะเวลาในการขยายเชื้อในกองปุ๋ยหมักเป็นเวลา 7 วัน  วิธีการใช้สารผสมของ
                  สารเร่งซุปเปอร์ พด.3  ท าโดยหว่านส่วนผสมของสารเร่งซุปเปอร์ พด.3  ที่ขยายเชื้อในปุ๋ยหมักแล้วร่วมกับการ

                  ใส่ปุ๋ยหมัก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)
                         สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 เป็นน้ าหมักที่ได้จากการย่อยสลายพืช
                  สมุนไพรโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้ของเหลวสีน้ าตาลใส ซึ่งประกอบด้วยกรดอินทรีย์

                  หลายชนิดในปริมาณที่สูง  และสารต่างๆนี้สามารถออกฤทธิ์ไล่แมลง เชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 นั้น
                  ได้มาจากการน าตัวอย่างน้ าหมักชีวภาพที่เกิดจากกระบวนการหมักตามธรรมชาติของเกษตรกรจากแหล่งต่าง ๆ
                  ทั้งน้ าหมักชีวภาพที่ได้จากผัก ผลไม้ ปลา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้จากการหมักพืชสมุนไพร โดยเชื้อที่แยกได้
                  จากผลไม้สุกงอมมาท าการคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัสดุจากพืชสมุนไพรเพื่อให้

                  สามารถย่อยพืชสมุนไพรได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น
                         ประโยชน์ของสารเร่งซุปเปอร์ พด.7  สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชพวกเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ
                  หนอนเจาะผลและล าต้น หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนกอ หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ ไรแดง และแมลงหวี่
                  ด้วงงวง ด้วงปีกแข็ง มอดแป้ง มวนปีกแข็ง แมลงวันทอง มด แมลงวัน และยุง เป็นต้น  วิธีการใช้โดยการฉีดพ่น

                  ที่ใบ ล าต้น และรดลงบนดินทุกๆ 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน โดยใช้สาร
                  ป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 50 ลิตรต่อไร่ ใช้ส าหรับพืชไร่ พืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ และสาร
                  ป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 100 ลิตรต่อไร่ ใช้ส าหรับไม้ผล (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
                         ปอเทือง (Crotalaria juncea) เป็นพืชฤดูเดียว ล าต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากสูงประมาณ 180–

                  300 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดียวยาวรี ช่อดอกเป็นแบบราซีม (racemes) ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขาประกอบด้วย
                  ดอกย่อย 8-20 ดอก ดอกสีเหลืองมีการผสมข้าม ฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3–6 เซนติเมตร กว้าง 1–2
                  เซนติเมตร  หนึ่งฝักมีประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่จะมีเสียงดัง  เนื่องจากเมล็ดกระทบกันเมล็ดมีรูปร่าง
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42