Page 33 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          24


                         สาเหตุที่เกษตรกรเผาฟาง
                         1.  เป็นการท าลายโรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในฟางข้าว ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการลดค่าใช้จ่ายในการ
                  ซื้อสารเคมีป้องกันก าจัดโรคแมลงและเป็นการท าลายแหล่งซุกซ่อนของหนูอีกด้วย

                         2. เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากหากจัดการในรูปแบบอื่น ต้องมีการใช้แรงงานและลงทุนสูง
                         3.  ในพื้นที่ที่มีการจัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียน เมื่อมีการไถกลบหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ปลูกพืชต่อ
                  จะมีผลต่อการแปรสภาพของธาตุอาหารพืช เช่น กระบวนการ Immobilization ซึ่งกระบวนการนี้ ธาตุอาหาร
                  พืชในรูปอนินทรีย์จะถูกแปรสภาพเป็นรูปสารอินทรีย์เช่น ในกรณีของธาตุไนโตรเจนเมื่อ อนินทรีย์ในโตรเจนถูก

                  แปรสภาพเป็นอินทรีย์ไนโตรเจนแล้วก็จะท าให้ธาตุไนโตรเจนอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งก็จะท าให้พืช
                  เกิดการขาดธาตุไนโตรเจนได้ แต่ในทางกลับกันพบว่าการเผาฟางข้าว มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และยังท า
                  ให้เกิดปัญหามลภาวะแวดล้อมและยังส่งผลกระทบต่อการจราจรในบางพื้นที่อีกด้วย  จากศึกษาหลายๆชิ้นที่

                  ผ่านมาพบว่าการเผาตอซังและฟางข้าวในนา จะท าให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนร้อยละ 93 ฟอสฟอรัสและ
                  โพแทสเซียมสูญเสียไป ร้อยละ 20 โดยทั่วไปผลผลิตของข้าว 5 ตัน ต้องใช้ปริมาณธาตุอาหารจากดินส าหรับ
                  การเจริญเติบโตดังนี้ ไนโตรเจน 150 กิโลกรัม  โพแทสเซียม 150 กิโลกรัม  ฟอสฟอรัส 20 กิโลกรัมและ
                  ก ามะถัน 20 กิโลกรัม  ธาตุอาหารพืชเหล่านี้จะสะสมอยู่ในส่วนต่างๆของต้นข้าว แต่ปริมาณธาตุอาหารในตอ
                  ซังและฟางข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวในแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น

                  ปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นข้าว คุณภาพของน้ าชลประทาน พันธุ์ข้าวและฤดูกาล ดังนั้น การเผาตอซังและฟางข้าวในนาจึง
                  นับว่าเป็นการสูญเสียที่มหาศาล (ที่มา :http://ora.kku.ac.th/res_kku/Abstract/AbstractView.asp.วันที่
                  26 มิถุนายน 2558)

                         แนวทางการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวเป็นวัสดุปรับปรุงดินโดยไม่เผา  ปัญหานี้นับเป็นปัญหาที่
                  นักวิชาการและนักส่งเสริมการเกษตรได้พยายามหาทางแก้ไขอยู่ตลอดมาเช่น ได้มีการศึกษาวิจัยการส่งเสริมท า
                  ปุ๋ยหมักฟางข้าวแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรมากนัก จ าเป็นต้องหาวิธีการที่จะท าให้เกษตรกรเห็น
                  คุณค่าการไถกลบฟางข้าวลงไปในนา เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร งานวิจัยทาง

                  วิชาการหลายๆชิ้น เช่น จากการศึกษาของ ชุติวัฒน์และดิเรก (2540) พบว่า จากผลของการจัดการฟางข้าวต่อ
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวติดต่อกันระยะเวลา 4 ปี ในรูปแบบการจัดการต่างๆ 5 วิธี  ได้แก่
                  การเกี่ยวตอซังออก ไถกลบตอซัง เผาตอซัง ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าว อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่และการใส่ฟางข้าว
                  2,000 กิโลกรัม/ไร่  ผลการทดลองพบว่า การเกี่ยวตอซังออกจากแปลงนาหรือการเผาตอซังทิ้ง  ท าให้ผลผลิต

                  ข้าวต่ ามาก เฉลี่ย 464 และ 461 กิโลกรัม/ไร่  ตามล าดับ  ส่วนการไถกลบตอซังหลังการเก็บเกี่ยวข้าว การใส่
                  ปุ๋ยหมักฟางข้าวหรือการใส่ฟางข้าว เพิ่มในอัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ จะให้ผลผลิตเมล็ดข้าวที่สูงกว่าเฉลี่ย  501
                  540 และ 580 กิโลกรัม/ไร่ ตามล าดับ
                         ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ  Ponnamperuma  (1984)  ว่าอิทธิพลของการจัดการฟางข้าวใน

                  รูปแบบต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินและผลผลิตของข้าว พบว่า การไถกลบฟางข้าวหลังการเก็บ
                  เกี่ยวและการใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวใส่ในนา มีผลท าให้ปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าการเผาหรือการน าฟาง
                  ข้าวออกจากแปลงนา การไถกลบฟางข้าวลงในดินติดต่อกันในระยะยาวมีผลต่อการเพิ่มศักยภาพของดินในการ

                  เพิ่มผลผลิตของพืชที่เพาะปลูก โดยเมื่อมีการเผาตอซังและฟางข้าว ผลผลิตของข้าวเฉลี่ยจะได้ 3.4 ตันต่อ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38