Page 31 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          22


                         3. ใช้ควาย รถไถเดินตาม หรือ รถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ลากขลุบหรืออุปกรณ์อื่นๆ เหยียบย่ าให้ตอซัง
                  และฟางข้าวจมลงดินและน้ า
                         4. หมักฟางและตอซังข้าวในแปลงนาทิ้งไว้ 10-15 วัน จนตอซังและฟางข้าวเปื่อยยุ่ย

                         5. ผสมน้ าหมักชีวภาพ  2 ลิตร กับน้ า 100 ลิตรต่อไร่ เทสาดให้ทั่วแปลงนาอีกครั้ง
                         6. หมักฟางและตอซังข้าวต่ออีก 5-10 วันจนเปื่อยยุ่ยเต็มที่
                         7. ไถ คราด ท าเทือก เพื่อปลูกข้าวต่อไปตามปกติ หรืออาจปลูกพืชไร่ พืชผัก อื่นๆ ได้
                         พื้นที่เขตเกษตรน้ าฝน ในกรณีที่เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดู

                  เพาะปลูก โดยอาศัยน้ าฝนหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อเป็น
                  การคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม ให้ท าการ
                  เตรียมดินพร้อมกับการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับ  ในเขตชลประทาน โดยท าการปล่อย

                  น้ าเข้านาให้ระดับน้ าท่วมวัสดุที่ไถกลบ หลังจากนั้นใส่น้ าหมักชีวภาพ ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้อัตรา 5 ลิตร โดยให้เจือ
                  จางกับน้ า 100 ลิตร ก่อนราดลงในแปลงนาข้าว หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อให้ตอซังข้าวเกิดการย่อย
                  สลายแล้วจึงท าเทือกเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป
                         ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายวัสดุตอซัง ชนิดของวัสดุ วัสดุที่ย่อยสลายยาก ได้แก่ ตอซังข้าวหรือ
                  ฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาการย่อยสลายประมาณ  20 วัน ส าหรับวัสดุตอซังข้าวโพด และพืชตระกูลถั่ว จะใช้

                  เวลาประมาณ 15 วัน อุณหภูมิในดินที่มีระดับสูงขึ้นจะมีผลท าให้วัสดุตอซังมีการย่อยสลายได้เร็วขึ้น  ความชื้น
                  ดินที่มีปริมาณความชื้นพอเหมาะจะท าให้เกิดการย่อยสลายวัสดุได้ดีขึ้น
                         ประโยชน์จากการไถกลบตอซังข้าว

                         1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน
                         1.1 ท าให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การปักด ากล้าและท าให้ระบบรากพืชสามารถ
                  แพร่กระจายในดินได้มากขึ้น
                         1.2 การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น

                         1.3 เพิ่มการซึมผ่านของน้ า และการอุ้มน้ าของดินให้ดีขึ้น
                         2. ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน
                         2.1 เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง ถึงแม้ปริมาณธาตุอาหารจะไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับ
                  ปุ๋ยเคมี แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการ ทั้งธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและ

                  โพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดง
                  สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน) และจะค่อยๆปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว
                         2.2 ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดิน ซึ่งพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้
                  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

                         2.3 ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ท าให้การเปลี่ยนแปลงไม่
                  รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช
                         2.4 ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน

                         2.5 ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36