Page 30 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          21


                  ศึกษาดูงานได้เห็นแปลงสาธิตวิธีการใช้ วิธีการผลิตท าให้สามารถน าไปปฏิบัติได้ในพื้นที่ของตนเอง เป็นกลุ่ม
                  เกษตรกรที่เข้มแข็งยั่งยืน
                         เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) คือ การท าการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติบนพื้นที่การเกษตรที่

                  ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมี ทั้งทางดิน ทางน้ า ทางอากาศ เพื่อส่งเสริมความ
                  อุดมสมบูรณ์ของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุล
                  ธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อทางพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการ
                  จัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูงอุดม ด้วยคุณค่าทาง

                  อาหารและปลอดสารพิษ โดยมีต้นทุนการผลิตต่ าเพื่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจพอเพียงแก่มวลมนุษยชาติและ
                  สรรพสิ่ง
                         หลักการส าคัญของเกษตรอินทรีย์

                         การหมุนเวียนของธาตุอาหาร
                         1. เกษตรอินทรีย์ให้ความส าคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหาร  ที่เกิดจากระบบการผลิตโดยมี
                  เป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป ตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุ
                  อาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่ส าคัญคือ การใช้ปุ๋ยหมัก  การคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุ  การปลูกพืชเป็นปุ๋ย
                  พืชสดและการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

                         2.  ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินถือเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์
                  ดังนั้นเกษตรกรต้องหาวัสดุอินทรีย์ต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นฟางใบไม้ ซึ่งวัสดุอินทรีย์เหล่านี้จะ
                  ย่อยสลายกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ท าให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้

                  การไม่ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีก าจัดศัตรูพืช ยังเป็นการช่วยท าให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่าง
                  รวดเร็ว ซึ่งท าให้พืชที่ปลูกมีความแข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลงรวมทั้งให้ผลผลิตสูง
                         3.  ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศน์ โดยการปลูกพืชร่วมหลายชนิดในเวลา
                  เดียวกันหรือเหลื่อมเวลากัน การปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์

                  จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยังเป็นการลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดอีกด้วย
                  นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถควบคุมศัตรูพืชซึ่งเป็นการสร้าง
                  สมดุลนิเวศน์การเกษตรอีกวิธีหนึ่ง
                         การไถกลบตอซัง  หมายถึง  การไถกลบวัสดุเศษซากพืชที่มีอยู่ในไร่นา  หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                  โดยท าการไถกลบวัสดุเศษพืชในระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแล้วทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้เกิด
                  กระบวนการย่อยสลายในดิน  ก่อนที่จะท าการปลูกพืชต่อไป
                         วิธีการไถกลบตอซังและฟางข้าว  เขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี
                  หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว  ให้ปฏิบัติ  ดังนี้

                         1. ผสมน้ าหมักชีวภาพ 3 ลิตร กับน้ า 100 ลิตรต่อไร่
                         2. เทหรือสาดส่วนผสมของน้ าหมักชีวภาพให้ทั่วแปลงนาหรือเทผสมให้ไหลไปกับน้ าที่ปล่อยเข้าแปลง
                  น                                                                                         า
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35