Page 40 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 40
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
28
3.5 การจัดการดินเพื่อปลูกข้าว
การปลูกข้าวในนาด า เรียกว่าการปักด า ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนแรก
ได้แก่ การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สอง ได้แก่ การถอนต้นกล้าเอาไปปักด าในนาผืนใหญ่
1) การเตรียมดิน ต้องท าการเตรียมดินให้ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ โดยมีการไถดะ การไถแปร
และการคราด ปกติการไถและคราดในนาด ามักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า
ควายเหล็กหรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาด านั้นได้มีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ
ขนาด 1-2 ไร่ คันนามีไว้ส าหรับกักเก็บน้ าหรือปล่อยน้ าทิ้งจากแปลงนา นาด าจึงมีการบังคับระดับน้ า
ในนาได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะท าการไถ ต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อน ปกติจะต้อง
รอให้ฝนตกจนมีน้ าขังในผืนนาหรือไขน้ าเข้าไปในนาเพื่อท าให้ดินเปียก การไถดะ หมายถึง การไถครั้ง
แรก เพื่อท าลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงท าการ
ไถแปร ซึ่งหมายถึง การไถเพื่อตัดกับรอยไถดะ ท าให้รอยไถดะแตกออกเป็นก้อนเล็ก ๆ จนวัชพืชหลุด
ออกจากดิน การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ าในนา ตลอดถึงชนิดและ
ปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปรแล้วก็ท าการคราดได้ทันที การคราด คือ การคราดเอาวัชพืชออกจาก
ผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกันด้วย นาที่มีระดับเป็นที่ราบ ต้นข้าวจะได้รับน้ า
เท่า ๆ กัน และสะดวกแก่การไขน้ าเข้าออก
การท านาข้าวในดินเปรี้ยว จ าเป็นต้องมีการปรับปรุงดินเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น ซึ่งจะมี
การใส่วัสดุปูนมาร์ล ลดความเป็นกรดของดิน และมีผลต่อเนื่องในการลดปริมาณสารเป็นพิษที่ละลาย
ออกมามากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช ในทางปฏิบัตินิยมใช้ปูนมาร์ล เพราะมีราคาถูกและใส่เพียง
ครั้งเดียวก็สามารถ แก้ความเป็นกรดของดินได้นาน 3-5 ปี โดยใช้ปูนมาร์ลปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวใน
อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
2) การตกกล้า หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้าเพื่อ
เอาไปปักด า การตกกล้าสามารถท าได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การตกกล้าในดินเปียก การตกกล้าในดิน
แห้งและการตกกล้าแบบดาปก
การตกกล้าในดินเปียก จะต้องเลือกหาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดีเป็นพิเศษ
สามารถป้องกันนกและหนูที่จะเข้าท าลายต้นกล้าได้เป็นอย่างดี และมีน้ าพอเพียงกับความต้องการ
การเตรียมดินก็มีการไถดะ ไถแปรและคราดดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ต้องยกเป็นแปลงสูงจากระดับน้ าใน
ผืนนานั้นประมาณ 3 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เมล็ดที่หว่านลงไปจมน้ าและดินจนเปียกชุ่มอยู่
เสมอ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรแบ่งแปลงนี้ ออกเป็นแปลงย่อยขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร และมี ความยาว
ขนานไปกับทิศทางลม ระหว่างแปลงเว้นช่องว่างไว้ส าหรับเดินประมาณ 30 เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อลด
แรงระบาดของโรคที่จะเข้าไปท าลายต้นข้าว เช่น โรคไหม้
การตกกล้าในดินแห้ง ในกรณีที่ชาวนาไม่มีน้ าเพียงพอส าหรับการตกกล้าในดิน
เปียก ชาวนาอาจท าการตกกล้าบนที่ดอนซึ่งไม่มีน้ าขัง โดยเอาเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ซึ่งยังไม่ได้เพาะให้
งอกไปโรยไว้ในแถวที่เปิดเป็นร่องเล็กๆ ขนาดยาวประมาณ 1 เมตร จ านวนหลายแถว แล้วกลบดิน
เพื่อป้องกันนกและหนู หลังจากนั้นก็รดน้ าด้วยบัวรดน้ าวันละ 2-3 ครั้ง เมล็ดจะงอกขึ้นมาเป็นต้นกล้า
เหมือนกับการตกกล้าในดินเปียก ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จ านวน 7-10 กรัมต่อแถวที่มีความยาว 1 เมตร
และแถวห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินแล้ว ควรหว่านปุ๋ยพวกที่ให้