Page 37 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25







                       ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ าตาลปนด าน าไปใส่ในไร่นา
                       หรือ พืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้
                               ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก  ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน  ท าให้ดินอุดมสมบูรณ์  ช่วย
                       เปลี่ยนสภาพดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนท าให้สะดวก ในการไถพรวน รักษาความชุ่มชื้น

                       ในดินได้ดีขึ้นการถ่ายเทอากาศในดินได้ดี  เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้
                       ปุ๋ยเคมีลงได้กระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ ายากให้ละลายน้ าง่ายเป็นอาหาร
                       แก่พืชได้ดี ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ ปรับสภาพแวดล้อม ก าจัด
                       ขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ าทั้งหลายให้หมดไป

                              3.4.2 ปุ๋ยพืชสด
                              หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากพืชและใบสดที่ปลูกเอาไว้  แล้วไถกลบขณะที่พืชยัง
                       เขียวอยู่ เพื่อให้เน่าเปื่อยผุพังจนกลายเป็นธาตุอาหารพืช  และเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่
                       ดินด้วย โดยปกติเป็นการปลูกพืชพวกตระกูลถั่วเช่นถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม โสนอัฟริกันและปอเทือง

                       เป็นต้น แล้วไถกลบหลังจากที่ถั่วออกดอก ที่เป็นเช่นนี้เพราะขณะถั่วออกดอก ในต้นถั่วจะมีการสะสม
                       ธาตุอาหารมาก และการที่นิยมใช้พืชพวกถั่วต่าง ๆ นั้น เนื่องจากพืชพวกถั่วมีลักษณะพิเศษคือมีปมที่
                       ราก (พืชถั่วบางชนิดมีปมที่ต้นเช่นโสนคางคก) ซึ่งมีสิ่งที่มีชีวิตเล็กๆ อาศัยอยู่ซึ่งสิ่งที่มีชีวิตเล็กๆ พวกนี้

                       สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศซึ่งพืชทั่วๆ ไปใช้ไม่ได้ ให้มาอยู่ในต้นถั่วซึ่งเมื่อไถกลบต้นถั่วจะเป็น
                       การเพิ่มไนโตรเจนให้กับดิน นอกจากนี้ธาตุอาหารอื่นๆ ที่ถั่วดูดกินจากดินและสะสมอยู่ในต้นนั้น เมื่อ
                       ไถกลบถั่วแล้วธาตุอาหารในต้นถั่วจะถูกปลดปล่อยให้พืชที่ปลูกตามมาใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้นในบางครั้ง
                       พืชสดที่ปลูกนั้น อาจจะไม่ใช่พืชตระกูลถั่วก็ได้ เช่น ไถกลบหญ้า ข้าวโพด แต่สู้พวกถั่วไม่ได้ หลังจาก
                       ไถกลบพืชพวกนี้แล้วไม่นานถ้าปลูกพืชอื่นตามมาพืชอาจจะแสดงอาการขาดไนโตรเจนในช่วงแรกๆได้

                       เพราะขณะเกิดการสลายตัวของพวกหญ้าที่ไถกลบจะมีการดึงไนโตรเจนจากดินมาช่วยในการสลายตัว
                       ท าให้ดินขาดไนโตรเจนระยะหนึ่ง  แต่หลังจากสลายตัวดีแล้ว ก็จะมีการปลดปล่อยไนโตรเจนกลับมา
                       ให้พืชใช้ประโยชน์ได้ ปุ๋ยพืชสดแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภทดังนี้

                              1.  พืชตระกูลถั่ว  นิยมใช้กันมากในการท าปุ๋ยพืชสดเนื่องจากสลายตัวได้ง่ายปลูกง่ายโตเร็ว
                       มีรากและล าต้นมากและที่ปมรากจะมีไรโซเบียมอาศัยอยู่ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้
                              2. พืชตระกูลหญ้า เมื่อปลูกแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดจะได้เพียงอินทรียวัตถุในส่วนของธาตุ
                       อาหารพืชจะมีปริมาณน้อยกว่าพืชตระกูลถั่ว ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มเติม

                              3. พืชน้ า มีอยู่หลายชนิดที่สามารถน ามาใส่ในไร่นา แล้วไถกลบจะเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่
                       ผักตบชวา จอก และแหนแดง เป็นต้น
                              การพิจารณาเลือกพืชที่จะใช้ท าปุ๋ยพืชสดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆเช่น สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ
                       ชนิดและรูปแบบของการปลูกพืชเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นๆ สรุปหลักในการพิจารณาได้ดังนี้ คือ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42