Page 38 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
เมล็ดพันธุ์หาได้ง่ายในท้องถิ่น ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ดูแลรักษาเพียงเล็กน้อย มีน้ าหนักต้นสดต่อ
พื้นที่สูง เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ มีระบบรากลึก กว้าง ทนต่อความแห้ง
แล้ง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี สามารถไถกลบได้ง่าย ล าต้นเปราะ และเน่าเปื่อยสลายตัวได้รวดเร็ว
และมีธาตุอาหารสูง ในการปลูกพืชบ ารุงดินนั้นเกษตรกรจะได้ประโยชน์จากพืชปุ๋ยพืชสดที่เหมาะสม
สรุปได้ดังต่อไปนี้ เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช
เพิ่มธาตุอาหารไนโตรเจนให้แก่พืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ า ป้องกันการ
ชะล้างพังทลายของหน้าดิน อันเกิดมาจากการกระท าของน้ าช่วยท าให้ดินโปร่ง ร่วนซุย สะดวกในการ
ไถพรวน เพิ่มความสามารถในการดูดซับอาหารของดินให้สูงขึ้น โดยทั่วๆไปแล้วนิยมปลูกพืชปุ๋ยสด
โดยใช้วิธีหว่านเมล็ดในพื้นที่ให้กระจายอย่างสม่ าเสมอ หรือใช้วิธีโรยเป็นแถวก็ได้ หากใช้พืชตระกูลถั่ว
เป็นพืชปุ๋ยสดควรใช้หินฟอสเฟตอย่างละเอียดใส่ผสมดินในอัตรา 20–30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกพืช
ปุ๋ยพืชสด ฟอสเฟตจะช่วยในการเจริญเติบโตและเพิ่มการตรึงไนโตรเจนของพืชเนื่องจากพืชตระกูลถั่ว
ต้องการปริมาณฟอสฟอรัสสูงในระยะแรกของการปลูก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด ได้แก่ เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุ
อาหารหลักให้แก่พืช อีกทั้งกรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืช
ได้มากยิ่งขึ้น บ ารุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน และให้ดินอุ้มน้ าได้ดี
ขึ้น ท าให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่าง
ดี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง เพิ่มผลผลิต
ของพืชให้สูงขึ้น
ลักษณะทั่วไปของพืชปุ๋ยสด ปลูกง่ายเจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรง ออกดอกในระยะ
เวลาอันสั้น คือประมาณ 30–60 วัน ให้น้ าหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป ทนแล้ง
และทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ผลิต
เมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ เมล็ดงอกง่ายและ
มีเปอร์เซนต์ความงอกสูง การเก็บเกี่ยว ตัดสับและไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากเพราะจะท า
ให้ไม่สะดวกแก่การไถกลบ ล าต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้เร็วและมีธาตุอาหารพืชสูง
การตัดสับและไถกลบพืชสด
การตัดสับและการไถกลบพืชสดนั้น จ าเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชสดเป็นส าคัญ
ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตัดสับ และไถกลบ ควรท าขณะที่ต้นถั่ว เริ่มออกดอกไปจนถึงระยะดอก
บานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบแล้วจะท าให้ปริมาณอินทรียวัตถุ
และธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)