Page 45 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       33







                                    3. ก่อนถึงวันเก็บเกี่ยว 10 วันถ้ายังคงมีน้ าอยู่ในนา ให้ระบายน้ าออกจากนาให้หมด เพื่อให้
                       ข้าวสุกแก่สม่ าเสมอ แปลงนาที่แห้งจะสะดวกในการลงไปท างาน ทั้งการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน และ
                       เครื่องจักร
                                    4. ก าหนดวันที่เก็บเกี่ยว ถ้าสามารถรับฟังการพยากรณ์อากาศได้ หากคาดว่าจะมีฝนตก

                       ในช่วงวันเก็บเกี่ยว อาจท าการเก็บเกี่ยวก่อน หรือหลังวันที่ก าหนดได้ แต่ควรมีแผนการขนย้ายผลผลิต
                       หรือการเก็บผลผลิตไว้ในยุ้งฉาง ในสภาพที่แห้ง
                                    การลดความชื้นผลผลิตข้าว
                                    หลังการเก็บเกี่ยว การนวดผลผลิตข้าว และท าความสะอาดโดยการฝัดแล้ว ยังไม่สามารถ

                       เก็บรักษาเมล็ดข้าวที่มีความชื้นสูงไว้ในโรงเก็บได้ เพราะเมล็ดมีการหายใจท าให้เกิดความร้อน จะท า
                       ให้เกิดเชื้อราเข้าท าลาย ควรลดความชื้นในเมล็ดก่อนเก็บ โดย
                                    1. การตากข้าวบนลานตาก ตากเมล็ดข้าวบนลานที่ท าความสะอาดแล้ว ไม่ควรตากบนพื้น
                       ซีเมนต์หรือพื้นถนนโดยตรง  เพราะเมล็ดอาจได้รับความร้อนสูงเกินไป  ควรปูพื้นด้วยผ้าใบหรือเสื่อ

                       สานด้วยไม้ไผ่ ความหนาของกองที่ตาก ประมาณ 5 -10 เซนติเมตร ไม่ควรหนาหรือบางเกินไป ควรมี
                       วัสดุคลุมกองข้าวเพื่อป้องกันน้ าค้างหรือฝน  ระยะเวลาการตากข้าวประมาณ  2-3  แดด ไม่ควรตาก
                       นานเกินไป

                                    2. การลดความชื้นโดยใช้เครื่องจักร ต้องมีความรู้ความเข้าใจการใช้เครื่องจักรเป็นอย่างดี
                       วัตถุประสงค์ของการลดความชื้นเมล็ดเพื่อเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ ต้องมีความระมัดระวังไม่ให้อุณหภูมิของ
                       เครื่องลดความชื้นจนมีผลต่อความงอกของเมล็ด ควรค านึงถึงค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติจะคุ้มหรือไม่
                                  การเก็บรักษา
                                  เป้าหมายหลักของการเก็บรักษาข้าว คือต้องมีการสูญเสียของข้าวในขณะเก็บรักษาน้อย

                       ที่สุดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  หลักการเก็บรักษาโดยทั่วไปคือ  ควรเก็บรักษาข้าวไว้ในสภาพหรือ
                       โรงเก็บที่มีความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิของอากาศต่ า(ในที่แห้งและเย็น)
                                  วิธีการเก็บรักษาข้าว

                                  การเก็บรักษาข้าวโดยทั่วๆ ไป แบ่งออกได้เป็น 4 วิธี ได้แก่
                                    1.  การเก็บในสภาพปกติ  ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
                       หมายถึง การเก็บข้าวไว้ในโรงเก็บปกติที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเก็บ
                       เป็นวิธีที่นิยมใช้อยู่เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีการลงทุนน้อย และเสียค่าใช้จ่ายต่ า แต่โอกาสที่จะเกิดความ

                       เสียหายในระหว่างการเก็บรักษามีสูง เช่น การเก็บในโรงเก็บหรือยุ้งฉางของเกษตรกร โรงสีหรือโกดัง
                       ส่งออกข้าวขนาดใหญ่ๆ
                                     2.  การเก็บในสภาพที่มีการควบคุมอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว เช่น  การเก็บข้าวไว้ในตู้แช่
                       ตู้เย็น หรือในไซโลเก็บข้าวที่มีการเป่าลมเย็น เป็นต้น

                                     3.  การเก็บในสภาพที่มีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ได้แก่  การเก็บข้าวไว้ใน
                       ภาชนะเก็บที่มิดชิด สามารถป้องกันการเคลื่อนที่ผ่านเข้าออกของอากาศได้ เช่น การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้
                       ในปีปสังกะสี หรือ polyethylene bags เป็นต้น การเก็บข้าวในสภาพปิดเช่นนี้ ความชื้นของข้าวจะ
                       เป็นตัวก าหนดความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในภาชนะที่เก็บ  ถ้าความชื้นของข้าวต่ า ความชื้น

                       สัมพัทธ์ภายในภาชนะบรรจุก็จะต่ า ข้าวที่เก็บจะเกิดความเสียหายน้อย ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ของข้าวสูง
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50