Page 36 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       24







                              1. การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ าเฉพาะในส่วนของเนื้อดินตอนบนออกเพื่อ
                       ล้างสารที่เป็นกรดออกไป  และจะต้องควบคุมให้มีน้ าแช่ขังอยู่ในดินล่าง  เพื่อป้องกันไม่ให้สารที่เป็น
                       กรดเกิดขึ้นใหม่อีก พร้อมกับจะต้องป้องกันไม่ให้น้ าเค็มหรือน้ ากร่อยเข้ามาในบริเวณพื้นที่ และจะต้อง
                       ใส่สารปรับปรุงดินพวกปูน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล  หินปูนบดละเอียดหรือเปลือกหอยเผาเพื่อให้ท า

                       ปฏิกิริยาแก้ความเป็นกรดในดิน ควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช
                              2. การแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี การเพิ่ม
                       อินทรียวัตถุแก่ดินนอกจากเป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืชโดยตรงแล้วยังเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติทาง
                       กายภาพของดินให้ดีขึ้น เช่นช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยโดยวิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การไถ

                       กลบตอซัง เพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืชเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ า การเพิ่ม
                       อินทรียวัตถุแก่ดินที่สะดวกคือการใช้ปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม โสนอันฟริกัน เป็นการ
                       บ ารุงดินเพื่อพัฒนาให้ดินมีสภาพทางเคมีและกายภาพดีขึ้น มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นโดยการเพิ่ม
                       ธาตุอาหารพืชในดิน  ในรูปของปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้พืชเจริญงอกงามและให้ผลผลิตมากขึ้น

                       อินทรียวัตถุ คือสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของสารอนินทรีย์ ซึ่งอยู่ในรูปหลายขั้นตอน คือตั้งแต่อยู่ใน
                       รูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแต่ยังจ ารูปเดิมได้ จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงจากรูปเดิมโดยสมบูรณ์ ถ้าจะให้
                       เข้าใจง่ายๆ อินทรียวัตถุ คือสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์ และเศษวัสดุเหลือใช้

                       ทางการเกษตร โดยการกระท าของจุลินทรีย์ เมื่อย่อยสลายจนถึงขั้นสุดจะได้สารฮิวมัส ซึ่งเป็น
                       สารอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของอินทรียวัตถุในดินที่คงตัวมีพื้นที่ผิวสัมผัสสูง ท าให้ดูดซับน้ าได้ดี มีความ
                       สามารถในการแลกเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าสูง คือดูดยึดธาตุอาหารไว้ได้สูง รวมทั้งได้ธาตุอาหารพืช
                       ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ถูกปลดปล่อยออกมาสะสมอยู่ในดินที่พืชสามารถ
                       น าไปใช้ในการเจริญเติบโตได้  โดยประโยชน์ของอินทรียวัตถุ ให้ธาตุอาหารพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก

                       ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม กลับคืนลงสู่ดินช่วยให้ดินสามารถดูดยึดธาตุอาหารได้สูง
                       โครงสร้างของดินดีขึ้น ร่วนซุย มีการถ่ายเทอากาศ การระบายน้ าได้ดี ดินอุ้มน้ าไว้ให้พืชได้ใช้สูง เป็น
                       เวลานาน มีจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นในดิน และท างานได้ดีขึ้น ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้

                       เหมาะสม และรักษาระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก

                       3.4 การจัดการอินทรีวัตถุ
                              3.4.1 ปุ๋ยหมัก

                              ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์  หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการน าเอาเศษซากพืช  เช่น
                       ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจน
                       ขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมัก โดยใช้
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41