Page 35 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
ปลูกพืชผักหรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ ากว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0
เมตร มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ก่อนยกร่อง ควรแยกหน้าดินมาทับบนดินที่ขุดมาจากร่องคูน้ า
หว่านวัสดุปูน 500 กิโลกรัมต่อไร่ บนสันร่องและร่องคูน้ า ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3
ตันต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ า หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ปรับปรุง
หลุมปลูก ด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัมต่อหลุม ร่วมกับวัสดุปูน 5 กิโลกรัมต่อหลุม
ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิต และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี
หรือน้ าหมักชีวภาพ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก ไว้ใช้
ในช่วงที่พืชขาดน้ า ล้างและควบคุมไม่ให้ดินเกิดกรดเพิ่มขึ้น เมื่อดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น หว่านด้วยวัสดุปูน
500 กิโลกรัมต่อไร่
การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 11
ปลูกข้าว ไถพรวนดินในขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ลดและควบคุมความเป็นกรด
รุนแรงมากของดินด้วยวัสดุปูน 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงปลูก ไถกลบตอซัง
ปล่อยไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด โสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย
4-6 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ าหรือ
ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักด า 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ าและระบบการให้น้ าไว้ใช้
ในช่วงที่ข้าวขาดน้ าหรือใช้ท านาครั้งที่ 2
ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ ากว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0
เมตร มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ เพื่อป้องกันน้ าท่วม ก่อนยกร่อง ควรแยกหน้าดินมาทับบนดินที่ขุดมา
จากร่องคูน้ า หว่านวัสดุปูน 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน
ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ า หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ปรับปรุงหลุม
ปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัมต่อหลุม ร่วมกับวัสดุปูน 6 กิโลกรัมต่อหลุม ในช่วง
เจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ย
อินทรีย์น้ า ตามชนิดพืชที่ปลูก เมื่อดินเกิดกรดเพิ่มขึ้น หว่านด้วยวัสดุปูน 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก เพื่อใช้ล้างความเป็นกรดของดิน และควบคุม
ไม่ให้ดินกรดเพิ่มขึ้น
ความเหมาะสมส าหรับการปลูกพืช ในสภาพปัจจุบัน พื้นที่มีศักยภาพ เหมาะสมที่จะใช้
ท านาในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินเหนียวมีน้ าขังที่ผิว
ดินนาน 4-5 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ ส าหรับในบริเวณพื้นที่ ที่มี
น้ าชลประทานเข้าถึงหรือแหล่งน้ าธรรมชาติ ถ้าใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลหรือปลูกพืชไร่และพืชผัก ตลอด
ทั้งปีจะต้องท าคันดินล้อมรอบพื้นที่เพาะปลูกและยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ าของดิน