Page 44 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       32







                       ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อย (less  sensitive  to  photoperiod)  และพันธุ์ที่ออกดอก
                       เฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-20 นาทีก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความ
                       ไวต่อช่วงแสงมาก (strongly sensitive to photoperiod) พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิต
                       ได้ปีละหนึ่งครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปี พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่

                       เป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง
                              ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
                              เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามอายุ จึงใช้ปลูกและ
                       ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรัง บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปรัง

                              การเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง
                                 วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเป็นปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตข้าวใน
                       แต่ละฤดู  ผลของการจัดการตลอดช่วงฤดูการปลูกข้าวจะมีผลต่อคุณภาพและผลผลิตข้าวในที่สุด
                       ราคาของข้าวเปลือกจากการซื้อขายผลผลิตข้าว  นอกจากจะมีการพิจารณาตั้งแต่ความชื้นของ

                       ข้าวเปลือก ลักษณะของเมล็ดได้แก่ สีเปลือก ขนาดเมล็ดเต็ม และสิ่งเจือปนต่างๆแล้ว คุณภาพการสี
                       ของข้าวเปลือกโดยคิดเป็นเปอร์เซนต์ของต้นข้าว ก็เป็นลักษณะที่ใช้ก าหนดในการซื้อขายข้าวเช่นกัน
                       เมื่อมีการจัดการที่ถูกต้องตลอดฤดูการปลูกข้าว

                                 ผลที่ได้จะท าให้
                                   1. ได้ผลผลิตข้าวเต็มศักยภาพของแต่ละพันธุ์
                                   2. คุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ สีเปลือก สีข้าวกล้อง ขนาดและรูปร่าง คุณสมบัติการหุงต้ม
                       ตรงตามพันธุ์
                                   3. คุณภาพการสี ของข้าวเปลือก ได้ปริมาณข้าวเต็มเมล็ดมาก

                                 สุดท้ายการเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่ถูกต้องและเหมะสม จะท าให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพดี การ
                       เก็บเกี่ยวที่ระยะพลับพลึง เป็นระยะการเก็บเกี่ยวที่แนะน า และเกษตรกรควรถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
                       ถ้าต้องการให้ได้ผลผลิตข้าวที่ดีมีคุณภาพ และสามารถใช้เป็นข้อต่อรองให้ขายได้ราคาดี

                                    การเก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง คือระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวที่นับจากวันที่ข้าวออกดอก
                       ไปแล้ว 28-30 วันและเก็บเกี่ยวในสภาพที่นาแห้งหรืออย่างน้อยก็ไม่มีน้ าขังในนา
                                 ข้าวออกดอก  วันที่ข้าวออกดอก  พิจารณาจากวันที่รวงข้าวที่มีดอกบานเกือบเต็มพื้นที่
                       คือ ร้อยละ 80 ของพื้นที่ จึงบันทึกวันนั้นเป็นวันที่ข้าวออกดอก

                                 วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว
                                    1. การเตรียมตัวก่อนถึงวันเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรควรหมั่นเดินส ารวจแปลงนาตั้งแต่วันที่
                       ข้าวออกดอก เพราะระยะนี้เป็นระยะที่ข้าวต้องได้รับการเอาใจใส่ทุกด้าน ในนาต้องมีน้ าเพียงพอ ไม่มี
                       โรคแมลงรบกวน ไม่ลงไปรบกวนในแปลงนาโดยไม่จ าเป็น หากเกิดปัญหาใดๆ ต้องรีบแก้ไข ไม่ทิ้งไว้

                       จนเกิดอาการรุนแรง
                                    2. วางแผนการเก็บเกี่ยว เมื่อทราบวันที่ข้าวออกดอก ให้วางแผนก าหนดวันที่จะเก็บเกี่ยว
                       (หลังข้าวออกดอก 28-30  วัน) วิธีการเก็บเกี่ยว  ถ้าใช้แรงงานก็ต้องนัดแรงงานมาให้พร้อม  ถ้าใช้
                       เครื่องจักร ก็ต้องท าความสะอาดและดูแลเครื่องจักรให้พร้อมที่จะท างานได้ในวันที่ก าหนด
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49