Page 43 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       32







                       และจุลธาตุ (เหล็ก  แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม  และคลอรีน)  และจะค่อยๆ
                       ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว
                                             - ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดินซึ่งพืชสามารถ
                       น าไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ  และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

                                             - ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินท าให้การ
                       เปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช
                                             - ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน
                                               - ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม

                                        (3) ปรับปรุงสมบัติทางชีภาพของดิน
                                            - อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดินมีผลท าให้ปริมาณ
                       และกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน
                       ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

                                           - การเพิ่มปริมาณหรือจ านวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืช
                       บางชนิดในดินลดน้อยลง
                                    2) วิธีการไถกลบตอซังข้าว

                                        (1) พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2–3
                       ครั้งต่อปี  หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซังและฟางขาว  ให้ท าการไถกลบตอซังและฟางข้าว
                       แล้วปล่อยน้ าเข้านา  โดยให้ระดับน้ าพอท่วมวัสดุ  หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ าอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือ
                       จางกับน้ า 100 ลิตร คิดเป็นอัตราส่วน 1:20 ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย
                       หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์แล้วจึงท าเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูก

                       พืชไร่เศรษฐกิจอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ข้าว ฯลฯ
                                        (2) พื้นที่เขตเกษตรน้ าฝน  ในกรณีที่เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่าง
                       เดียวตลอดฤดูเพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝน  หลังจาการเก็บเกี่ยวข้าวให้ทิ้งฟางข้าว และตอซังไว้ในพื้นที่

                       ของเกษตรกรเพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดินจากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน หรือ
                       ต้นเดือนพฤษภาคมให้ท าการเตรียมดินพร้อมกับการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับ
                       ในเขตชลประทาน  โดยท าการปล่อยน้ าเข้านาให้ระดับน้ าท่วมวัสดุที่ไถกลบหลังจากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                       น้ าในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้อัตรา 5 ลิตร โดยให้เจือจางกับน้ า 100 ลิตร ก่อนราดลงในแปลงนาข้าว หมักทิ้งไว้

                       ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ตอซังข้าวเกิดการย่อยสลาย แล้วจึงท าเทือกเตรียมแปลงพร้อมปลูกข้าว
                       ต่อไป
                                   3) ผลเสียจากการเผาตอซัง
                                      เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่ส าหรับปลูกข้าวโดยท าการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวก

                       ในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้องการก าจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการ
                       เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ  เคมี  และชีวภาพ เนื่องจากความร้อนจากการเผา
                       ตอซัง กล่าวคือ
                                   (1) ท าให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไปอนุภาคดินจับตัวกันแน่นและแข็งท าให้รากพืช

                       แคระแกร็นไม่สมบูรณ์และอ่อนแอ การขาดอาหารลดลงรวมทั้งเชื้อโรคพืชสามารถเข้าท าลายได้ง่าย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48