Page 47 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       36







                                         (7) พืชสามารถน าธาตุอาหารต่างๆ รวมถึงอินทรียวัตถุที่มีในโดโลไมท์ไปใช้
                       ประโยชน์ได้ทันที เพราะมีการย่อยสลายที่สมบูรณ์



                       3.9 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                              นงคราญ (2527)  ศึกษาอัตราและสัดส่วนผสมของปุ๋ยไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส         และ
                       โพแทสเซียม   ที่เหมาะสมต่อข้าวที่ปลูกในดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงด้วยการใช้ปูนมาร์ล  จากการทดลอง
                       พบว่า  ข้าวพันธุ์ กข.7 ที่ปลูกในดินเปรี้ยวชุดดินรังสิตเปรี้ยวจัด  มีผลตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย

                       ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอย่างเด่นชัด  ในด้านการเจริญเติบโต  ความสูง  การแตกกอ  ผลผลิต และ
                       การดูดใช้ธาตุอาหารหลัก  แต่ไม่มีผลตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมแต่อย่างใด  นอกจากนี้การ
                       ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยฟอสฟอรัสร่วมกันในอัตราและสัดส่วนที่เหมาะสม  จะให้ผลผลิตดีกว่าการใช้
                       ปุ๋ยดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว  ส าหรับผลผลิตของเมล็ดนั้น  โดยทั่วไปข้าวจะ

                       ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสมากกว่าปุ๋ยไนโตรเจน   และปุ๋ยโพแทสเซียม  ตามล าดับ  ดังนั้น
                       อัตราของธาตุปุ๋ยหลักแต่ละชนิดที่เหมาะสม  และควรแนะน าในการปลูกข้าวพันธุ์  กข. 7  คือปุ๋ย
                       ยูเรียในอัตรา 16 กิโลกรัม ไนโตรเจนต่อไร่ปุ๋ยดับเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟตในอัตรา 8 กิโลกรัมฟอตเฟตต่อ
                       ไร่   ส าหรับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์นั้นจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้  ถ้าใช้ก็ควรใช้ในอัตรา 8 กิโลกรัม

                       โพแทสเซียมต่อไร่  นอกจากนี้เพื่อให้เกิดผลดีมากที่สุด  ควรมีการปรับปรุงปฏิกิริยาดินด้วยปูนมาร์ล
                       เพื่อลดความเป็นกรดของดินก่อนการใช้ปูน
                              กู้เกียรติ (2530)  ศึกษาการใช้วัสดุปรับปรุงดินของเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตข้าวในเขตพื้น

                       ที่ดินเปรี้ยว  ผลการวิจัยปรากฏว่า  เกษตรกรในเขตพื้นที่ดินเปรี้ยว  มีอายุเฉลี่ย 48.56 ปี  ส่วนมาก
                       จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีที่นาเป็นของตนเองเฉลี่ยครอบครัวละ 50.37 ไร่  ผลผลิตข้าวเฉลี่ย
                       37.43 ถังต่อไร่  นิยมใช้ข้าวปลูกมากกว่า 1 สายพันธุ์  ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง  เกษตรกรส่วนมาก
                       ทราบว่าที่นาของตนมีปัญหาในเรื่องดินเปรี้ยว  โดยสังเกตจากน้ า  ส าหรับการเก็บตัวอย่างดินไปตรวจ
                       วิเคราะห์  เกษตรกรส่วนมากยังไม่รู้จักวิธีในการเก็บตัวอย่างดิน  เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องไม่มีเงินสด

                       เพียงพอในการลงทุน  ส่วนใหญ่เคยกู้เงินมาลงทุนโดยกู้จากสถาบันกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ โดยเฉพาะ
                       ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์  เกษตรกรในเขตพื้นที่ดินเปรี้ยว  ส่วนมากใช้หินฟอสเฟต  โดย
                       ได้มาจากทางราชการซึ่งไม่คิดมูลค่า และในอัตราส่วนระหว่าง 75-100 กิโลกรัมต่อไร่  ใช้หว่าน

                       หลังจากท าเทือกแล้วคราดกลบ  ส าหรับการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้หินฟอสเฟตนั้น  ส่วนมาก
                       เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย 2 ครั้ง  โดยใช้ปุ๋ยสูตร  16-20-0  ในอัตราไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อไร่  ใน
                       ระยะก่อนปักด า 1 วัน  และในระยะข้าวตั้งท้องเป็นส่วนใหญ่  ปัญหาที่เกษตรกรส่วนมากพบ  คือ
                       หินฟอสเฟตเป็นฝุ่นหว่านล าบาก  และไม่มีหินฟอสเฟตจ าหน่ายในท้องถิ่น  การใช้ปูนมาร์ล  ปรากฏ

                       ว่าเกษตรกรส่วนมากใช้ปูนมาร์ลในอัตราไร่ละ 1,000-2,000  กิโลกรัม  โดยหว่านในช่วงฤดูแล้งก่อน
                       การเตรียมดิน  และใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 ร่วมด้วย  โดยหว่านไม่เกินครั้งละ 20 กิโลกรัมต่อไร่
                       ครั้งที่ 1  หว่านในช่วงระยะก่อนปักด า 1 วัน  หรือหลังจากปักด า 7-10 วัน   และครั้งที่ 2 นิยมหว่าน
                       ในระยะข้าวตั้งท้อง  ปัญหาของเกษตรกรที่ใช้ปูนมาร์ลคือเงินทุนไม่เพียงพอ  และการขนส่งปูนมาร์ล

                       ไม่สะดวก   ส าหรับสภาพการใช้ปุ๋ยเคมี  เกษตรกรส่วนมากนิยมใช้ปุ๋ย 2 ครั้ง  โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52