Page 39 - การใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       28







                                              (1) ออกซิน  ท าให้เซลล์พืชขยายตัวมากขึ้น กระตุ้นการแบ่งเซลล์ มีการเกิดราก
                       ฝอยและรากแขนงเพิ่มมากขึ้น เร่งการเจริญเติบโตของล าต้น ควบคุมการเจริญของใบ ส่งเสริมการ
                       ออกดอก กระตุ้นการสุกของผล
                                              (2) จิบเบอเรลลิน กระตุ้นการแบ่งเซลล์ การยืดตัวของล าต้น กระตุ้นการงอกของ

                       เมล็ดและตา ท าลายการพักตัวของเมล็ด พัฒนาการเกิดหน่อข้าง
                                              (3) ไซโตไคนิน  กระตุ้นการแบ่งเซลล์ การเจริญของตาข้าง การขยายตัวของใบ
                       เพิ่มอัตราการเกิดการสังเคราะห์แสง ท าให้ใบพืชมีสีเขียวได้นานและร่วงหล่นช้า ท าให้เมล็ดงอกในที่
                       มืด ส่งเสริมพืชให้มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายอาหารจากรากไปสู่ยอดพืช

                                              (4) กรดอะมิโน ช่วยการแตกยอดใหม่ของพืชเพิ่มขึ้น ท าให้ก้านดอกยาวขึ้น เป็น
                       สารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนออกซิน ช่วยท าให้ธาตุอาหารในน้ าหมักชีวภาพอยู่ในรูปของอะมิโนคีเลท
                       พืชสามารถดึงไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
                                           เมื่อน าน้ าหมักชีวภาพไปพ่นที่ใบและรดลงดินจะสามารถส่งเสริมการ

                       เจริญเติบโตของพืชรวมถึงการติดดอกออกผลได้เป็นอย่างดี ส าหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ า (น้ าหมัก
                       ชีวภาพ) ให้มีประสิทธิภาพนั้นควรใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุ แต่อย่างไรก็
                       ตามปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์น้ าก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นจึงจ าเป็นต้อง

                       ใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก      ปุ๋ยคอก ลงไปด้วย ส่วนปริมาณฮอร์โมน กรดฮิวมิก ธาตุอาหารหลักและธาตุ
                       อาหารรองในน้ าหมักชีวภาพแต่ละชนิดจะมีปริมาณแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่
                       น ามาหมักและการใช้ประโยชน์น้ าหมักชีวภาพในพื้นที่ทางการเกษตร
                               3.8.2 สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่งพด.7 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551)
                                         เป็นสารสกัดที่ได้จากการหมักพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ประกอบด้วย สาร

                       ออกฤทธิ์และสารไล่แมลงที่อยู่ในพืชสมุนไพร รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เพื่อใช้ในการป้องกันและ
                       ก าจัดแมลงศัตรูพืช
                                     1) สารเร่งซุปเปอร์ พด.7

                                              เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืช
                       สมุนไพรชนิดต่างๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
                                     2) ชนิดของจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.7
                                              (1) ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์

                                              (2) แบคทีเรียผลิตกรดอะซีติก
                                              (3) แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก
                                     3) วัสดุส าหรับผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืช
                                              (1) การหมักพืชสมุนไพรสด

                                                  พืชสมุนไพร                30  กิโลกรัม
                                                  กากน้ าตาล                10  กิโลกรัม
                                                  ร าข้าว                   100  กรัม
                                                  น้ า                      30  ลิตร

                                                  สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 (1 ซอง)   25  กรัม
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44