Page 20 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-10
3.2 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นข้อมูลสําคัญในการวิเคราะห์เขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ
หากมีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าวก็จะอนุมานได้ว่าเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวมีทัศนคติในเชิง
บวกกับพืชดังกล่าว และยังจะทราบเนื้อที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทํา
ให้ทราบว่าบริเวณจังหวัดไหนเป็นแหล่งผลิตที่สําคัญ นอกจากนี้แล้วการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วง
ระยะเวลาที่ต่างกันยังแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินซึ่งหมายถึงแนวโน้มการผลิตทางการเกษตร
ทั้งนี้หากวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับความเหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจแล้ว ทําให้
ทราบว่ามีการปลูกพืชดังกล่าวในพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมมากน้อยอย่างไร สภาพการใช้
ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบ Shapefile ทั่วประเทศนั้นได้ทําการวิเคราะห์โดยส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้
ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน โดยการแปลภาพถ่ายทางอากาศสี (Color
Orthophoto) และภาพถ่ายดาวเทียม SPOT-5 และ THEOS ร่วมกับการสํารวจภาคสนาม
สําหรับการนําข้อมูลสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบ shapefile มาวิเคราะห์ในการกําหนด
เขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจนี้ เลือกเฉพาะสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเฉพาะพืชเศรษฐกิจ
ที่สนใจและมาวิเคราะห์เท่านั้น ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวนั้นอาจจะอยู่ในและนอกเขตป่าไม้ตาม
กฎหมาย ดังนั้นจะต้องนําไปวิเคราะห์ร่วมกับขอบเขตป่าไม้ตามกฎหมายเพื่อกําหนดเขตเหมาะสมของ
ที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจในพื้นที่นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายเท่านั้น
ในการกําหนดเขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ ขอบเขตป่าไม้ตามกฎหมายจะมีความสําคัญ
ในการวิเคราะห์ เนื่องจากจะไม่นําพื้นที่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมายมาพิจารณา การใช้ประโยชน์สําหรับ
พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่มีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย
3.3 ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลักเกษตรกรรม เนื่องจากภูมิอากาศเป็นปัจจัยสําคัญในการเจริญเติบโต
ของพืชแต่ละชนิด พืชบางชนิดเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น บางชนิดเจริญเติบโตได้
ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เป็นต้น ดังนั้นข้อมูลภูมิอากาศจึงเป็นข้อมูลที่สําคัญในการกําหนดเขต
เหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจ ข้อมูลภูมิอากาศที่สําคัญสําหรับการกําหนดเขตดังกล่าว ได้แก่ ปริมาณ
ฝนรายปี (Annual rainfall)ปริมาณนํ้าฝนใช้การ (Effective rainfall) และค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก
(Mean temperature in growing period) มีรายละเอียดดังนี้
1) ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรายปี (Annual rainfall) หมายถึง ปริมาณฝนรวมรายปีเฉลี่ยในช่วงเวลา
หนึ่ง ในการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจนั้น ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรายปี เป็นคุณลักษณะที่ดินที่
เป็นตัวแทนของความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรายปีจะนํามาวิเคราะห์