Page 16 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             3-6





                                 (3) นํ้าเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก ทําให้ไม่เหมาะสมต่อการ
                      เกษตรกรรมและใช้อุปโภคบริโภค

                                 (4) เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี โมลิบดินัม
                      และทองแดง เป็นต้น

                                 (5) มีสารประกอบหรือธาตุบางชนิดละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก
                      เช่น สารประกอบของเหล็ก แมงกานีส อะลูมิเนียม และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยไปยับยั้งการเจริญ

                      เติบของรากพืชและทําให้รากพืชที่แตกใหม่เน่าตาย

                                 (6) ยับยั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยอินทรียวัตถุ
                                 (7) สิ่งก่อสร้างต่างๆ และอุปกรณ์การเกษตร เกิดการกัดกร่อน ชํารุดเสียหาย

                      และมีอายุการใช้งานสั้นลง
                               1.3)  ดินอินทรีย์ (Organic  Soil) หมายถึง ดินที่มีวัสดุอินทรีย์หรือเศษซากพืชจาก

                      ใบไม้ รากไม้และกิ่งไม้สะสมกันมากเป็นชั้นหนาเท่ากับหรือมากกว่า 40  เซนติเมตร ภายในความลึก
                      80 เซนติเมตรจากผิวดิน รองรับด้วยชั้นดินที่เป็นดินเลนเละของตะกอนนํ้าทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิด

                      เป็นดินกรดกํามะถันหรือดินเปรี้ยวจัด พบมากในพื้นที่ลุ่มนํ้าขังนานเกือบตลอดปีหรือพื้นที่พรุตาม
                      ชายฝั่งทะเล สําหรับปัญหาดินอินทรีย์ ได้แก่

                                 (1) จํากัดชนิดพืชที่ปลูก เนื่องจากวัสดุอินทรีย์เกาะตัวกันอย่างหลวมในสภาพ
                      นํ้าแช่ขังนานเกือบตลอดปี

                                 (2) มีเศษกิ่งไม้ ตอไม้และรากไม้อยู่ใต้ดินมาก ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้

                      ที่ดินเพื่อปลูกพืช
                                 (3) การเตรียมพื้นที่เพาะปลูกทําได้ยากลําบาก ไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลหรือ
                      เครื่องทุ่นแรงได้ ต้องใช้แรงงานจากคนเท่านั้น

                                 (4) วัสดุอินทรีย์เมื่อแห้งจะยุบตัวมาก ทําให้รากพืชโผล่มาอยู่บนผิวดิน พืชที่ปลูก

                      จะเอียงและล้มง่าย
                                 (5) วัสดุอินทรีย์เมื่อแห้งจะติดไฟง่ายและดับยาก สูญเสียความสามารถในการอุ้มนํ้า

                      และดูดซับธาตุอาหารพืช
                                 (6) ดินและนํ้าเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมากทําให้ไม่เหมาะสมสําหรับ

                      ใช้ทําการเกษตรกรรมและใช้อุปโภคบริโภค
                                 (7) เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ทําให้พืชแสดงอาการขาดธาตุไนโตรเจน

                      ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม แมกนีเซียมและแมงกานีส
                                 (8) เกิดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมิเนียม
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21