Page 23 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                           บทที่ 4

                                                  การประเมินคุณภาพที่ดิน



                      4.1  การประเมินคุณภาพที่ดิน

                            การกําหนดเขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจของกรมพัฒนาที่ดินนั้น ได้ประเมิน
                      คุณภาพที่ดินสอดคล้องกับวิธีการที่พัฒนาโดย FAO (1983) ซึ่งการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ

                      หรือด้านคุณภาพ (Qualitative  land  evaluation)  เป็นการประเมินศักยภาพของที่ดินว่าที่ดินนั้นๆ
                      เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดสําหรับการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ หรือการปลูกพืชต่างๆ โดยพิจารณา

                      จากคุณลักษณะที่ดินที่ได้จําแนกไว้ในแต่ละหน่วยที่ดิน (Land  unit,  LU)  สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการ
                      เจริญเติบโตของพืช และระดับการจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดินสําหรับแต่ละประเภทการใช้

                      ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirement, LUR) (บัณฑิต ตันศิริ และคํารณ ไทรฟัก, 2542)
                            ตามหลักการของ FAO ได้จําแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินสอดคล้องกับระดับความต้องการ

                      ปัจจัยคุณภาพที่ดินของแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน และจัดอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2

                      อันดับ (Order) คือ อันดับที่เหมาะสม (Suitability order, S) และอันดับที่ไม่เหมาะสม (Not suitable order, N)
                      เมื่อจําแนกอันดับความเหมาะสมแล้ว ยังสามารถแบ่งชั้นระดับความเหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจได้
                      เป็น 3 ชั้น (Class) ได้แก่ ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable, S1)  ชั้นที่มีความเหมาะสมปาน

                      กลาง (Moderately suitable, S2) และชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable, S3) ซึ่งใน

                      แต่ละชั้นความเหมาะสมยังสามารถแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Subclass) โดยชั้นย่อยนี้สะท้อนข้อจํากัดสูงสุด
                      ของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชอีกด้วย แสดงตัวอย่างอันดับชั้น

                      และชั้นย่อยความเหมาะสมของที่ดินโดยรวม
                            ขั้นตอนในการประเมินความเหมาะสมของที่ดินโดยสรุปมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

                            1) กําหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Type, LUT) ที่ต้องการวางแผน ซึ่งในที่นี้
                      คือ การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สนใจ และจะได้เลือก ความต้องการด้านพืช (Crop requirement) ที่สอดคล้อง

                      กับความต้องการด้านพืชของพืชเศรษฐกิจที่ต้องการกําหนดเขตเหมาะสมในการปลูกและกําหนดพื้นที่
                      ที่ต้องการศึกษา

                            2) กําหนดหน่วยที่ดิน (Land Unit, LU) ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาสําหรับการประเมินคุณภาพที่ดิน
                      จากนั้นพิจารณาเลือกคุณสมบัติดิน (Land  characteristic)  หรือคุณสมบัติที่ดิน (Land  Quality,  LQ)

                      ดังที่กล่าวไว้ แล้วนําไปวิเคราะห์ร่วมกับความต้องการในการเพาะปลูกพืช (Crop requirement) ซึ่งข้อมูลหน่วยที่ดิน

                      นั้นจะอยู่ในรูป Shapefile และ Excel
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28