Page 15 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-5
ดินที่มีปัญหาต่อการเกษตรกรรม มีดังนี้ คือ
1.1) ดินเค็ม (Saline Soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือละลายนํ้าได้อยู่ใน
สารละลายดินมากจนมีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช มีค่าการนําไฟฟ้ าของ
สารละลายดินที่สกัดได้จากดินที่อิ่มตัวด้วยนํ้ามากกว่า 2 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร โดยปกติจะพบชั้นดิน
ดานแน่นทึบที่มีเกลือสะสมมากภายในความลึก 200 เซนติเมตรจากผิวดิน และมีคราบเกลือกระจัด
กระจายอยู่บริเวณผิวดินมาก สําหรับปัญหาดินเค็ม ได้แก่
(1) จํากัดชนิดพืชที่ปลูกเนื่องจากพืชได้รับผลกระทบจากความเค็มของดิน เมื่อดิน
มีค่าความนําไฟฟ้าของสารละลายในดิน มีค่ามากกว่า 4 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร
(2) ดินและนํ้าเค็มทําให้ไม่เหมาะสมสําหรับใช้ทําการเกษตรกรรมและใช้อุปโภคบริโภค
(3) ดินมีโครงสร้างแน่นทึบทําให้เป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนและการชอนไช
ของรากพืช
(4) ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า
(5) เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารทําให้พืชขาดธาตุอาหารหรือมีมากจนเป็นพิษ
ต่อพืช เช่น ขาดธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสีและโคบอลต์
ทําให้มีธาตุโบรอนและโซเดียมมากจนเป็นพิษ
(6) พื้นที่ดินเค็มชายทะเลมีนํ้าทะเลขึ้นถึงประจําวัน มีเนื้อดินเป็นดินเลนเค็ม
และนํ้าทะเลท่วมเป็นประจําทุกวัน จึงไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช
(7) ขาดแคลนแหล่งนํ้าจืดและระบบการชลประทาน
1.2) ดินเปรี้ยวจัด (Acid Sulfate Soil) หมายถึง ดินที่เป็นกรดรุนแรงมากหรือเป็น
กรดรุนแรงมากที่สุด อันเนื่องมาจากตะกอนนํ้าทะเลที่มีสารประกอบกํามะถันมาก [ไพไรต์ (pyrite) : FeS]
2
ชั้นดินนี้เมื่อแห้งจะเกิดจุดประสีเหลืองฟางข้าว [จาโรไซต์ (jarosite) : KFe (SO ) (OH) ] หรือดินมีค่า
6
3
4 2
ความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับหรือน้อยกว่า 4.0 ภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดินสําหรับ
ปัญหาดินเปรี้ยวจัด ได้แก่
(1) จํากัดชนิดพืชที่ปลูก เนื่องจากมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรด
รุนแรงมากที่สุด
(2) ดินมีโครงสร้างเป็นก้อนเหลี่ยมแน่นทึบ เมื่อดินแห้งจะแข็ง แตกระแหง
กว้างและลึก เกิดรอยไถลในหน้าตัดดิน ดินเปียกแฉะจะเหนียวติดเครื่องมือการเกษตร ทําให้เป็น
อุปสรรคต่อการไถพรวนและรากพืชฉีกขาด