Page 18 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-8
1.6) ดินกรด (Acid Soil) หมายถึง ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินน้อยกว่า
7.0 แต่ปัญหาดินกรดที่มีผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชเพื่อการเจริญเติบโตและการ
ให้ผลผลิตตามปกติ มีค่าน้อยกว่า 5.5 ปัญหาดินกรด ได้แก่
(1) ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด
(2) ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า
(3) เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารหรือทําให้พืชขาดธาตุอาหารได้
1.7) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า (Low Soil Fertility)หมายถึง ดินที่มี
อินทรียวัตถุ อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ความเป็นประโยชน์ของธาตุ
ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่ในระดับตํ่าหรือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับตํ่าไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของพืช ทําให้เจริญเติบโตไม่ดีและให้ผลผลิตตํ่า สําหรับปัญหาดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ได้แก่
(1) ดินมีอินทรียวัตถุตํ่า
(2) มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชตํ่า
(3) ความสามารถในการดูดซับและปลดปล่อยธาตุอาหารตํ่า
(4) ปฏิกิริยาดินเป็นกรด เนื่องจากผ่านการสูญเสียธาตุที่เป็นด่างและธาตุ
อาหารพืชออกไปจากดิน
1.8) การชะล้างพังทลายของดิน
การชะล้างพังทลายของดิน หมายถึง การที่หน้าดินถูกกร่อนเป็นร่องกว้างและลึก
โดยกระบวนการที่ทําให้หน้าดินเกิดการแตกและฟุ้งกระจายโดยแรงกระแทกของเม็ดฝน แรงลมหรือ
จากการกระทําของมนุษย์แล้วเกิดการพัดพาโดยนํ้า ลมและตัวการอื่นๆ จากที่หนึ่งไปตกทับถมในที่
อื่น ทําให้พืชที่ปลูกเสียหาย เกิดการสูญเสียสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ซึ่ง
เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการเกษตรกรรม
(1) ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
สูญเสียหน้าดินและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น อินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร
พืชและสิ่งที่มีชีวิตในดิน เมื่อเกิดการชะล้างพังทลายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทําให้เกิดเป็นร่อง
กว้างและลึก ทําความเสียหายให้กับพื้นที่และพืชพรรณที่ปลูก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการฟื้ นฟู
ปรับปรุงดิน
1.9) การใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน
การใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน หมายถึง การดัดแปลง
พื้นที่ไปใช้ประโยชน์อย่างถาวรตามศักยภาพของที่ดิน เช่น การยกร่องปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่หรือพืชผัก
ในพื้นที่ลุ่มที่มีนํ้าขังหรือมีระดับนํ้าใต้ดินตื้น ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมสําหรับการปลูกข้าว หรือการปรับ