Page 24 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             4-2





                            3) จากความต้องการด้านพืช ผู้ประเมินจะเลือกปัจจัยความต้องการด้านพืช ที่จะนําไปพิจารณา
                      ร่วมกับคุณสมบัติที่ดินที่สอดคล้องกัน

                            4) ประเมินความเหมาะสมระหว่างความต้องการของประเภทการใช้ที่ดินกับคุณภาพที่ดินโดย
                      ใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ระหว่างความต้องการปัจจัยในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด (Crop requirement)

                      กับคุณภาพที่ดิน (Land Quality, LQ) แต่ละคุณลักษณะ ผลจากการจับคู่คุณภาพที่ดินและความต้องการ
                      ปัจจัยของพืช เป็นความเหมาะสมของแต่ละคุณสมบัติที่ดิน

                            5) ผู้ประเมินเปรียบเทียบผลจากการจับคู่ของแต่ละคุณสมบัติที่ดิน โดยใช้วิธีการพิจารณาคุณภาพที่ดิน

                      หรือคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจํากัดที่รุนแรงที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นตัวแทน
                      ความเหมาะสมของที่ดินรวมทั้งหมด

                            ในการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน ข้อมูลสําหรับการประเมินคุณภาพที่ดินที่สําคัญประกอบด้วย
                            1) คุณภาพที่ดิน (Land quality, LQ) ในที่นี้จะใช้หน่วยที่ดิน (Land Unit, LU) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลดิน

                            2) ความต้องการในการใช้ประโยชน์ที่ดินของพืช (Land Use Requirement, LUR) สามารถหา
                      ข้อมูลได้จาก หนังสือ การประเมินคุณภาพที่ดิน ซึ่งสอดคล้องตาม FAO Framework (1983) หรือจาก

                      การศึกษาของแต่ละพืช
                            3) ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรายปีในรูปแผนที่เส้นชั้นนํ้าฝน (Isohyet  map) ในรูปแบบ (Shapefile)

                      ครอบคลุมทั้งประเทศ หรือปริมาณฝนใช้การของแต่ละพืชในรูปแผนที่เส้นชั้นนํ้าฝน สามารถหาข้อมูลได้
                      จาก กรมอุตุนิยมวิทยา

                            4) อุณหภูมิเฉลี่ย ในรูปแบบ Shapefile ครอบคลุมทั้งประเทศ สามารถหาข้อมูลได้จาก กรมอุตุนิยมวิทยา

                      (ถ้าหากต้องการใช้)
                            5) หลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพที่ดินสอดคล้องตาม FAO Framework (1983)
                            การกําหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Type, LUT)  สําหรับการกําหนดเขต

                      เหมาะสมของที่ดิน สําหรับพืชเศรษฐกิจนี้ หมายถึง การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สนใจ ความต้องการในการ

                      เพาะปลูกพืชจึงเป็นความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                            เนื่องจากพืชที่ปลูกในพื้นที่ต่างๆ มีความต้องการปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน (Land

                      Use Requirement, LUR) นอกจากความต้องการด้านพืช (Crop requirements) แล้ว เกษตรกรยังมีการใช้
                      เครื่องมือ เครื่องจักร สารเคมี แรงงาน เทคโนโลยีหรือเงินทุนที่แตกต่างกัน และยังมีการปรับพื้นที่

                      เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
                            1) ความต้องการด้านพืช (Crop  requirements) เป็นความต้องการปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

                      และการให้ผลผลิตของพืช ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพที่ดินดังนี้ คือ อุณหภูมิ (t) ความชุ่มชื้นที่เป็น
                      ประโยชน์ต่อพืช (m) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o) ความจุในการดูดยึดซับธาตุอาหาร (n)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29