Page 21 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             3-11





                      ในกรณีการเพาะปลูกที่มีอายุยาวกว่าหนึ่งปี ต้องใช้นํ้าตลอดปีในการเจริญเติบโต เช่น ไม้ผลต่างๆ ชา
                      กาแฟ มันสําปะหลัง อ้อย และมะพร้าว เป็นต้น

                            2) ปริมาณฝนใช้การ (Effective rainfall) หมายถึง ปริมาณนํ้าฝนที่ตกลงบนพื้นที่เพาะปลูกและเป็น
                      ประโยชน์ต่อการเพาะปลูก พืชสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ หรือสามารถทดแทนนํ้าชลประทานที่ต้องจัดหามา

                      ให้แก่พืชที่แปลงเพาะปลูกได้ การคํานวณหาค่าปริมาณฝนใช้การสามารถทําได้หลายวิธี ซึ่งค่าปริมาณ
                      นํ้าฝนที่นํามาใช้ใน การคํานวณเป็นค่าปริมาณนํ้าฝนรายเดือน (กรมชลประทาน, 2554) ในช่วงเวลาที่

                      สนใจ เช่น คาบ 10 ปี เป็นต้น

                              ปริมาณฝนใช้การเป็นคุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนของความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                      โดยปริมาณฝนใช้การจะนํามาวิเคราะห์ในกรณีการเพาะปลูกพืชอายุสั้นกว่าหนึ่งปี เช่น ข้าวโพด ข้าว

                      และพริก เป็นต้น
                            3) อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ดพืช ต่อการออกดอกของพืชบางชนิด และสัมพันธ์

                      กับขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                      ตัวแทนของระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime) โดยคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน

                      (กรมพัฒนาที่ดิน, 2542) นั้นแนะนําให้ใช้ ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก (Mean temperature in growing period)
                      ซึ่งหมายถึง อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่มีการเพาะปลูกพืชนั้นๆ

                            ในการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจโดยทั่วไปนั้น จะใช้ข้อมูลนํ้าฝนเฉลี่ยรายปี
                      หรือข้อมูลปริมาณนํ้าฝนในช่วงที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต สอดคล้องตามประเภทของพืช สําหรับ

                      ข้อมูลภูมิอากาศอื่นๆนั้นสามารถเลือกใช้ตามความพร้อมของข้อมูลและประเภทของพืช


                      3.4  ทรัพยากรนํ้า

                            ทรัพยากรนํ้าเป็นปัจจัยสําคัญในการเกษตร เช่นเดียวกับทรัพยากรดินและทรัพยากรอื่นๆ
                      ปัจจุบันปัญหาด้านทรัพยากรนํ้าในปัจจุบันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งด้านการขาดแคลนนํ้าในฤดูแล้งหรือภาวะ

                      นํ้าท่วมในฤดูฝน เกิดความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม และผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้นรัฐบาล
                      หรือเกษตรกรจึงมีกระบวนการในการบริหารจัดการแหล่งนํ้า เพื่อให้มีนํ้าสําหรับการเพาะปลูกอย่าง

                      เพียงพอ
                            ในการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจนั้น ข้อมูลแหล่งนํ้าที่สําคัญได้แก่ แหล่งนํ้า

                      ตามธรรมชาติและแหล่งนํ้าที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งจะนํามาใช้ในการชลประทานสําหรับเกษตรกรรม โดยข้อมูล

                      แหล่งนํ้าที่สําคัญได้แก่
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26