Page 25 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4-3
สภาพการหยั่งลึกของรากพืช (r) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (n) การมีเกลือมากเกินไป (x) และ
สารพิษในดิน (z)
2) ความต้องการด้านการจัดการ (Management requirements) เป็นความต้องการที่เกษตรกรต้องการ
ด้านเครื่องจักร เครื่องกล ที่ต้องใช้ในการเตรียมดิน การเขตกรรม ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพที่ดิน
ดังนี้ คือ สภาวะการเขตกรรม (k) ศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล (w)
3) ความต้องการด้านการอนุรักษ์ (Conservation requirements) เป็นความต้องการเพื่อให้
สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ทําให้คุณภาพของดินหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆเปลี่ยนแปลงไป
มากนัก อันเนื่องมาจากประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความต้องการด้านนี้จําเป็นต้องมีมาตรการ
อนุรักษ์ดินและนํ้าให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆ ความต้องการด้านนี้ประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพที่ดินเพื่อ
ปัจจัยเดียวคือ ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e)
จากขั้นตอนในการประเมินความเหมาะสมของที่ดินใน นั้น การประเมินความเหมาะสมระหว่าง
ความต้องการของประเภทการใช้ที่ดินกับคุณภาพที่ดินโดยใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ระหว่างความ
ต้องการปัจจัยในการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด (Crop requirement) กับคุณภาพที่ดิน (Land Quality, LQ)
แต่ละคุณลักษณะแสดงการจับคู่ของปัจจัยด้านพืชและคุณภาพที่ดินโดยทั่วไป
ตารางที่ 4-1 การจับคู่ของปัจจัยด้านพืชและคุณภาพที่ดินโดยทั่วไป
ความต้องการด้านพืช คุณภาพที่ดิน
อุณหภูมิ (t) อุณหภูมิเฉลี่ยในระยะเวลาเพาะปลูก
ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m) ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี หรือปริมาณฝนเฉลี่ยในระยะเวลา
เพาะปลูก
ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o) สภาพการระบายนํ้าของดิน
ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก หรือ/และความอิ่มตัว
ด้วยค่าด่าง
สภาพการหยั่งลึกของรากพืช (r) ความลึกของดิน
ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (n) ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน
การมีเกลือมากเกินไป (x) ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมในดิน
สารพิษในดิน (z) ค่า pH ของดิน
ศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล (w) ความลาดชันของพื้นที่หรือ/และปริมาณหินโผล่
ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e) ความลาดชันของพื้นที่