Page 17 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3-7
(9) เสี่ยงต่อการถูกนํ้าท่วมในฤดูฝน ทําความเสียหายให้กับพืชที่ปลูก
(10) ขาดแคลนแหล่งนํ้าจืดและไม่มีระบบการชลประทาน
(11) เสียค่าใช้จ่ายในการจัดการดินสูง ถึงแม้ว่าจะมีการปรับปรุงแล้วผลผลิตก็
ยังตํ่าและมีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น
1.4) ดินทราย (Sandy Soil) หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปน
ดินร่วนหนาเท่ากับหรือมากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน และรวมถึงบางพื้นที่มีชั้นดินทรายหรือดิน
ทรายปนดินร่วนหนา 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน ปัญหาดินทราย ได้แก่
(1) ดินมีความสามารถในการอุ้มนํ้าและดูดซับธาตุอาหารตํ่า
(2) ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า
(3) ในบริเวณที่ดอนและพื้นที่ลาดชัน ดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสีย
หน้าดินและสูญเสียสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เกิดเป็นร่องกว้างและลึก
(4) ขาดแคลนนํ้าและแหล่งนํ้าชลประทานโดยเฉพาะในบริเวณที่ดอน
1.5) ดินตื้น (Shallow Soil) หมายถึง ดินที่มีชิ้นส่วนเนื้อหยาบ เช่น ลูกรัง ก้อนกรวด
หรือเศษหินปริมาณเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร หรือพบชั้นมาร์ล ชั้นหินพื้น ชั้นดาน
แข็งหรือชั้นเชื่อมแข็งภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน สําหรับปัญหาดินตื้น ได้แก่
(1) มีชั้นลูกรังหรือก้อนกรวดปริมาณมากในระดับตื้นถึงตื้นมาก และอาจพบ
กระจัดกระจายอยู่บนผิวดินมาก ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนและการชอนไชของรากพืชลงไป
หาธาตุอาหารและนํ้า
(2) มีส่วนประกอบของชิ้นส่วนเนื้อหยาบมาก ทําให้มีเนื้อดินน้อย ความสามารถ
ในการอุ้มนํ้าและดูดซับธาตุอาหารตํ่า ดินขาดนํ้าเร็ว สูญเสียธาตุอาหารหรือสูญเสียสิ่งที่เป็นประโยชน์
ต่อพืชได้ง่าย
(3) ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า
(4) ขาดแคลนนํ้าและแหล่งนํ้าชลประทาน
(5) จํากัดชนิดพืชที่จะนํามาปลูก
(6) พื้นที่ลาดชัน ดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินและสูญเสีย
สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายเกิดเป็นร่องกว้างและลึก
(7) ขาดแคลนนํ้าและแหล่งนํ้าชลประทาน