Page 22 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             3-12





                            1) แหล่งนํ้าตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แหล่งนํ้าตามธรรมชาติในภาคต่างๆ ของประเทศไทย
                      เช่น แม่นํ้า ลําธาร อ่างเก็บนํ้าตามธรรมชาติ เป็นต้น โดยสามารถหาข้อมูลได้จาก กรมชลประทาน

                      หรือกรมทรัพยากรนํ้า เป็นต้น
                            2) โครงการชลประทาน เป็นโครงการที่สนับสนุนนํ้าจากระบบส่งนํ้า และเกษตรกรสามารถนํานํ้า

                      ไปใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการเพาะปลูกได้ ประเภทของโครงการชลประทาน (กรมชลประทาน, 2556)
                      ที่เป็นข้อมูลประกอบในการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจมีดังนี้

                              (1)โครงการชลประทานขนาดใหญ่ คือ งานชลประทานอเนกประสงค์ที่สามารถก่อให้เกิด

                      ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การอุปโภคบริโภค การบรรเทาอุทกภัย การอุตสาหกรรม การผลิต
                      กระแสไฟฟ้าจากพลังนํ้า การคมนาคม แหล่งเพาะพันธุ์ประมงนํ้าจืด แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

                      และอื่น ๆในแต่ละโครงการมีงานก่อสร้างหลายประเภท เช่น เขื่อนเก็บกักนํ้า เขื่อนหรือฝายทดนํ้า การ
                      สูบนํ้า ระบบส่งนํ้า ระบบระบายนํ้า ระบบชลประทานในแปลงนา ถ้าเป็นการก่อสร้างประเภทเขื่อน

                      เก็บกักนํ้า สามารถเก็บกักนํ้าได้มากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่อ่างเก็บนํ้าตั้งแต่ 15 ตาราง
                      กิโลเมตร หรือมีพื้นที่ชลประทานมากกว่า 80,000 ไร่ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนขุน

                      ด่านปราการชล จังหวัดนครนายก เป็นต้น
                              (2)โครงการชลประทานขนาดกลาง หมายถึง โครงการชลประทานที่มีปริมาตรเก็บกักนํ้า

                      น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เก็บกักนํ้าน้อยกว่า 15 ตารางกิโลเมตร หรือมีพื้นที่ชลประทาน
                      น้อยกว่า 80,000 ไร่โดยต้องเป็นโครงการที่มีการจัดทํารายงานความเหมาะสมแล้ว ซึ่งจะเป็นงาน

                      ก่อสร้างอาคารชลประทานประเภทต่าง ๆ อาทิ เขื่อนเก็บกัก เขื่อนทดนํ้า ฝาย โรงสูบนํ้า ระบบส่งนํ้า

                      และระบายนํ้า ฯลฯ รวมทั้งงานก่อสร้างทางลําเลียงผลผลิตและงานแปรสภาพลํานํ้า
                              (3) โครงการชลประทานขนาดเล็ก หมายถึง งานพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็ก ที่กรมชลประทาน ได้
                      เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2520 เพื่อแก้ปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องนํ้าสําหรับการ

                      อุปโภคบริโภค และการเกษตร ซึ่งเป็นความจําเป็นขั้นพื้นฐานของราษฎรในชนบท หรือพื้นที่ที่

                      ห่างไกล รวมทั้งการแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยและนํ้าเค็มที่ขึ้นถึงพื้นที่เพาะปลูก โดยการ
                      ก่อสร้างอาคารชลประทานขนาดเล็กประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและปัญหาที่

                      เกิดขึ้นตามความต้องการของราษฎร
                                 ข้อมูลพื้นที่ชลประทานจะมีความสําคัญสําหรับการเพราะปลูกพืชในฤดูแล้ง เนื่องจาก

                      พื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่สามารถทําเกษตรได้ในฤดูแล้ง เช่น ข้าวนาปรัง ถั่วเหลืองฤดูแล้ง ข้าวโพด
                      ฤดูแล้ง และหอมแดงฤดูแล้ง เป็นต้น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27