Page 19 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             3-9





                      พื้นที่และทําคันดินกักเก็บนํ้าสําหรับปลูกข้าว ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวตามศักยภาพเป็นพื้นที่เหมาะสมสําหรับ
                      ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่หรือพืชผัก เป็นต้น

                                (1) ปัญหาการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดินในพื้นที่ลุ่ม
                                  พื้นที่ลุ่มเป็นพื้นที่มีนํ้าขังหรือมีนํ้าใต้ดินตื้น การยกร่องปลูกพืชอย่างถาวร

                      สําหรับปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่และพืชผัก อาจเสี่ยงต่อการถูกนํ้าไหลบ่าทําความเสียหายให้กับพืช
                      ที่ปลูก หรือมีระดับนํ้าใต้ดินตื้น ทําให้พืชที่ปลูกประสบปัญหารากเน่า ทําความเสียหายกับพืชที่ปลูกได้

                                (2) ปัญหาการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดินในพื้นที่ดอน

                                  พื้นที่ดอนเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชที่ไม่ชอบให้มีนํ้าขัง การดัดแปลงพื้นที่
                      อย่างถาวร โดยการทําคันนากักเก็บนํ้าสําหรับปลูกข้าวอาจประสบปัญหาขาดแคลนนํ้า

                                (3) ปัญหาการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดินในพื้นที่ลาดชันสูง
                                  การเกษตรกรรมในพื้นที่ลาดชันสูงยากต่อการจัดการดูแลรักษา ทําให้หน้าดิน

                      ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายหรือเกิดดินถล่ม ทําความเสียหายให้กับพื้นที่เพาะปลูกและพืชที่ปลูก
                      ทําลายระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง

                                (4) ปัญหาการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดินในกิจกรรมอื่นๆ
                      เช่น การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมในพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและมี

                      โครงสร้างพื้นฐานสมบูรณ์ด้านการเกษตรกรรม การขุดทราย บ่อดินหรือบ่อลูกรังในพื้นที่เหมาะสมดี
                      สําหรับการเกษตรกรรม เป็นต้น

                               1.10)  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (Slope  Complex) หมายถึง พื้นที่ภูเขาหรือเทือกเขาที่มี

                      ความลาดชันมากกว่า 35  เปอร์เซ็นต์ การทําการเกษตรในพื้นที่บริเวณนี้จะยากต่อการจัดการดินและ
                      การดูแลรักษา เนื่องจากหน้าดินเกิดการกร่อนอย่างรุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาใน
                      พื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่ตอนล่าง สําหรับปัญหาพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ สภาพพื้นที่มีความลาดชัน

                      สูง ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการเกษตรกรรมยากต่อการจัดการดูแลรักษา เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย

                      สูญเสียหน้าดินอย่างรุนแรงและทําลายระบบนิเวศวิทยาของสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ ดังนั้น จึงควรมี
                      การศึกษาสภาพพื้นที่ และศักยภาพของดินก่อน และถ้าจําเป็นควรทําการเกษตรแบบวนเกษตร เพื่อรักษา

                      ระบบนิเวศของป่าไม้ไม่ให้เสื่อมโทรม
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24