Page 14 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             3-4





                               1.4)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (oxygen availability : o) ได้แก่ สภาพ
                      การระบายนํ้าของดิน

                               1.5) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (nutrient availability : s) ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารในดิน
                      โดยพิจารณาร่วมกับความเป็นกรดเป็นด่างของดินหรือระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                               1.6)  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (nutrient  retention : n) ได้แก่ ความจุแลกเปลี่ยน
                      แคตไอออน (CEC) และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (% BS)

                               1.7)  สภาวะการหยั่งลึกของราก (rooting  conditions : r) ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึก

                      ของระดับนํ้าใต้ดินและชั้นการหยั่งลึกของราก ประกอบด้วยปริมาณก้อนกรวดหรือเศษหิน ลักษณะ
                      ของเนื้อดิน โครงสร้างดินและการเกาะตัวของดิน

                               1.8)  ความเสียหายจากนํ้าท่วม (flooding hazard : f) ได้แก่ จํานวนครั้งที่นํ้าท่วมในรอบปี
                      ที่กําหนดไว้

                               1.9)  การมีเกลือมากเกินไป (excess of salt : x) ได้แก่ ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมาก
                      เกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช

                               1.10)  สารพิษ คุณลักษณะของดิน (soil toxicity : z) ได้แก่ ระดับความลึกของจาโรไซต์
                      และปฏิกิริยาดินที่ทําให้เหล็กและอะลูมิเนียมละลายออกมามาก

                               1.11)  สภาวะการเขตกรรม (soil workability : k) ได้แก่ ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม
                               1.12)  ศักยภาพในการใช้เครื่องจักรกล (potential formechanization : w) ได้แก่ ความลาดชัน

                      ของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่หรือก้อนหินโผล่

                               1.13)  ความเสียหายจากการกร่อน (erosion hazard : e) ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่
                      และปริมาณดินที่สูญเสีย
                              2)  วิธีการวัดและประเมินคุณภาพที่ดินหรือประเมินความเหมาะสมของที่ดิน

                                การประเมินคุณภาพที่ดินใช้ลักษณะและสมบัติของที่ดินประจําหน่วยที่ดินมาเป็น

                      ตัวแทนในการคาดคะเนร่วมกัน  โดยพิจารณาลักษณะและสมบัติของที่ดินที่เป็นข้อจํากัดรุนแรงที่สุด
                      ต่อการเจริญเติบโตของพืช ก็จะได้ระดับความเหมาะสมของคุณภาพที่ดิน

                            3.1.4 ดินที่มีปัญหาต่อการเกษตรและปัญหาของทรัพยากรดิน
                              1)  ดินปัญหา

                                ดินปัญหา หมายถึง ดินที่มีสมบัติบางประการไม่เหมาะสมหรือมีความเหมาะสมน้อย
                      สําหรับการปลูกพืช ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือจากการใช้ที่ดินอย่างไม่ระมัดระวัง ทําให้ดินเสื่อมโทรม

                      ลงจนเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชได้ตามปกติ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19