Page 13 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             3-3





                              2)  ขั้นตอนการวิเคราะห์และจัดทําหน่วยที่ดิน
                                นําข้อมูลทรัพยากรดิน สภาพการใช้ที่ดิน การจัดการดิน และข้อมูลอื่นๆ ที่รวบรวมมาได้

                      ทําการซ้อนทับโดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ก็จะได้หน่วยที่ดินสําหรับนําไปประเมินความ
                      เหมาะสมของดิน และที่ดินตามคู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ (กองวางแผนการใช้ที่ดิน, 2542)

                              3)  หน่วยที่ดินและอธิบายหน่วยที่ดิน
                                ข้อมูลชลประทานใช้สัญลักษณ์ I เป็นตัวแทน ในกรณีของการใช้ประโยชน์ที่ดินสําหรับ

                      ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นในพื้นที่ที่เป็นดินในที่ลุ่มจะใช้สัญลักษณ์ M เป็นตัวแทน
                            3.1.3  คุณภาพที่ดิน

                              1)  การประเมินคุณภาพที่ดิน

                                การประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี ในอดีตที่ผ่านมากรมพัฒนาที่ดินยึดหลักการใน
                      การประเมินคุณภาพที่ดินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) ซึ่งสามารถ

                      ตอบวัตถุประสงค์ได้ในระดับกว้างๆ เท่านั้น ในปี 2527  กรมพัฒนาที่ดินได้เริ่มนําเอาวิธีการประเมิน
                      คุณภาพที่ดินของ FAO, 1983 มาใช้ เนื่องจากสามารถตอบวัตถุประสงค์ได้ครอบคลุมในทุกระดับของ

                      การสํารวจ
                                การประเมินคุณภาพที่ดินตามหลักการของ FAO  สามารถทําได้ 2  รูปแบบ คือ การ

                      ประเมินทางด้านคุณภาพหรือด้านกายภาพว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยต่อการใช้ประโยชน์
                      ที่ดินประเภทต่างๆ และการประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจในรูปของตัวเงินของการ

                      ลงทุนและผลตอบแทนที่ได้รับ

                                คู่มือแนวทางฉบับนี้มีเนื้อหาเฉพาะการประเมินทางด้านคุณภาพหรือด้านกายภาพ
                      เท่านั้น ปัจจัยที่นํามาใช้ในการประเมิน ได้แก่ สภาพการใช้ที่ดินและความต้องการปัจจัยในการใช้

                      ที่ดิน
                                คุณภาพที่ดิน คือ คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

                      พืช คุณลักษณะที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดินตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการ
                      เจริญโตของพืชไม่เท่ากัน มีทั้งหมด 25  ชนิด สําหรับประเทศไทยได้พิจารณาแล้วว่าคุณภาพที่ดินที่

                      สมควรนํามาใช้ประเมินมี 13 ชนิด ได้แก่
                               1.1)  ความเข้มของแสงอาทิตย์ (radiation regime : u) ได้แก่ ความยาวของช่วงแสง

                               1.2)  ระบอบอุณหภูมิ (temperature : t) ได้แก่ ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก
                               1.3)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (moisture availability : m) ได้แก่ ปริมาณ

                      นํ้าฝนเฉลี่ยในรอบปีหรือความต้องการนํ้าในช่วงการเจริญเติบโต โดยพิจารณาร่วมกับการแพร่กระจายของฝน

                      และลักษณะของเนื้อดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18