Page 96 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 96

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         85


                  สกุลที่พบมาก ได้แก่ Micromonospora sp., Streptomyces sp.  Thermoactinomycetes sp., Actinomyces

                  sp. และ Thermomonospora sp  หากเปิดกองวัสดุที่หมักออกดูจะพบแอคติโนไมซีตมีลักษณะเป็นขุยสีขาว
                  คล้ายกับผงแป้งในกองปุ๋ย  ซึ่งเป็นลักษณะการเจริญแบบเส้นใยและสร้างสปอร์ของจุลินทรีย์ชนิดนี้  หรือหาก

                  เป็นการกองปุ๋ยในหลุมหมักที่มีฝาปิดและผิวหน้ากองมีความชื้นมากพอ  อาจพบแอคติโนไมซีสต์เจริญเติบโต

                  เป็นขุยที่ผิวหน้ากองปุ๋ยจนขาวโพลนก็ได้  เชื้อแอคติโนมัยซิสต์สามารถเจริญได้ดีในช่วงอุณหภูมิสูงถึง 65
                  องศาเซลเซียส  และการเจริญจะลดลงหรือหยุดชะงักเมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่า 75  องศาเซลเซียส (ส่านัก

                  เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551; ยงยุทธและคณะ, 2551)
                        3.เชื้อรา (Fungi)  มีลักษณะเป็นเส้นใยต่อกันและมีสปอร์กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  เชื้อราเป็นกลุ่ม

                  จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ (aerobe)  เป็นกลุ่มที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและเพิ่มปริมาณมากในช่วงแรกๆ
                  ของการหมักใกล้เคียงกับพวกแบคทีเรีย  ซึ่งช่วงนั้นยังมีสารประกอบที่ย่อยสลายง่ายอยู่มากแต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ

                  เท่านั้น  เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม  เมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักสูงกว่า50  องศา

                  เซลเซียสจนใกล้ 60 องศาเซลเซียส  การเจริญเติบโตของเชื้อรามักจะลดลงและที่อุณหภูมิประมาณ 60– 65
                  องศาเซลเซียสเชื้อราจะถูกท่าลาย  แต่เมื่ออยู่ในสภาพที่แห้งพบว่าอุณหภูมิสูงขนาด 62 –  63 องศาเซลเซียส

                  ยังสามารถตรวจพบเชื้อราได้ในกองปุ๋ยหมัก  การตรวจพบเชื้อราแต่ชนิดและปริมาณของเชื้อจะแตกต่างกัน

                  ขึ้นอยู่กับชนิดชองเศษวัสดุและสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความชื้น และอุณหภูมิ  ในการท่าปุ๋ยหมัก  การที่
                  อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นและมีความชื้นสูงเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมกับเชื้อรา  ดังนั้นจึงมักตรวจพบเชื้อราเจริญอยู่

                  บริเวณผิวนอกของปุ๋ยหมัก  ซึ่งมีอุณหภูมิต่่าและมีความชื้นน้อยกว่าในกองปุ๋ยหมัก  เชื้อราส่วนใหญ่มี
                  ความสามารถในการย่อยสลายสารประกอบโมเลกุลใหญ่ได้ดี  เนื่องจากเชื้อราหลายชนิดผลิตเอนไซม์ออกมา

                  ภายนอกเซลล์ได้หลากหลายชนิด  อย่างไรก็ตามปัจจัยต่างๆของสภาพแวดล้อม  จะเป็นตัวควบคุมและ
                  คัดเลือกเชื้อราที่มีความสามารถในการด่ารงกิจกรรมในกองปุ๋ยหมัก  เชื้อราที่พบทั่วไปในกองวัสดุจากเศษพืช

                  คือ เชื้อราย่อยเซลลูโลส ได้แก่ Aspergillus sp.,  Peniculium sp., Fusarium sp., Trichoderma sp. และ

                  Chaetomonium  sp.  ส่าหรับอินทรียสารที่มีในกองวัสดุนั้น น้่าตาลและกรดอินทรีย์ต่างๆ จะถูกย่อยสลาย
                  เร็วที่สุด  เซลลูโลสสลายตัวค่อนข้างช้า  ส่วนลิกนินสลายช้าที่สุดจึงถูกใช้เป็นล่าดับสุดท้ายของโซ่อาหาร

                  อย่างไรก็ตามเชื้อรา Basidiomycetes sp. เป็นเชื้อราที่มักพบว่ามีบทบาทส่าคัญในกาย่อยสลายลิกนิน  และ
                  จากการศึกษาชนิดของเชื้อราในระยะต่างๆของการท่าปุ๋ยหมัก  พบว่าในระยะแรกที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก

                  เพิ่มสูงขึ้นมักจะตรวจพบเชื้อราพวก Geotrichumcandidum  และ Aspergillusfumigatu  sและเมื่อ

                  อุณหภูมิสูงถึงระดับ45 – 55 องศาเซลเซียส มักจะตรวจพบพวก Cladosporium sp., Aspergillus sp. และ
                  Mucor sp.  เมื่ออุณหภูมิสูงกว่านี้อาจพบพวก Penicilliumduponti  อย่างไรก็ตามชนิดของเชื้อราดังกล่าวนี้

                  จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัสดุที่ใช้  บางครั้งอาจจะเห็นกลุ่มของเส้นใยเชื้อราเป็นสี
                  ขาวหรือสีเทาเจริญอยู่ภายในกองปุ๋ยหมัก (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551; ยงยุทธและคณะ, 2551)


                  5. การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1

                         กระบวนการผลิตปุ๋ยหมัก พบว่า จุลินทรีย์เป็นปัจจัยที่ส่าคัญที่สุด เพราะกระบวนการย่อยสลายเศษ
                  วัสดุในกองปุ๋ยหมักเกิดจากกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้น ถ้าต้องการผลิตปุ๋ยหมักให้ใช้เวลาน้อยที่สุด  ต้อง
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101