Page 100 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 100

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         89


                         6.5 ลักษณะมีพืชเจริญเติบโตบนกองปุ๋ยหมักแสดงว่าปุ๋ยหมักสามารถน่าไปใช้ได้  เพราะเมื่อใส่ลงดิน

                  ไม่เป็นอันตรายต่อพืช

                  7. การกองปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อ

                         จากปัญหาที่พบว่า เกษตรกรต้องการหัวเชื้อจุลินทรีย์ (สารเร่ง พด.) ในการท่าปุ๋ยหมัก  แต่ปริมาณ
                  สารเร่ง พด. ไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร  ดังนั้นทางกรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาวิจัยโดยวรรณลดา

                  และคณะ (2527) พบว่า ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์จะเพิ่มจ่านวนสูงสุดในช่วง 15 วันแรกของการกองปุ๋ยหมักฟาง

                  ข้าวและขี้เลื่อย หลังจากนั้นปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ จึงค่อยๆ ลดลงเป็นล่าดับ  ดังนั้นการกองปุ๋ยหมักโดยวิธีการ
                  ต่อเชื้อ สามารถใช้วัสดุจากกองปุ๋ยหมักที่ 15 วัน น่าไปใช้เป็นต้นตอของเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจาก

                  ช่วงเวลาดังกล่าวเชื้อจุลินทรีย์มีปริมาณสูงสุด หรืออาจจะใช้ช่วงที่เป็นปุ๋ยหมักแล้วก็ได้  เนื่องจากในระยะ

                  ดังกล่าวถึงแม้เชื้อจุลินทรีย์อาจจะน้อยที่ระยะเวลา 15 วัน  แต่ก็มีปริมาณเชื้อมากเพียงพอที่จะใช้เป็นต้นตอ
                  เชื้อจุลินทรีย์ในการท่าปุ๋ยหมักครั้งต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นจึงใช้ปุ๋ยหมักที่อายุ 10 – 15 วัน หรือ

                  ปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วจ่านวน 200 กิโลกรัมแทนเชื้อสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ่านวน 1 ซอง  แต่อย่างไรก็ตามปุ๋ย
                  หมักที่จะน่าไปต่อเชื้อนี้จะต้องมีการดูแลและเก็บรักษาค่อนข้างดี คือ ต้องไม่ทิ้งตากแดดและลม  โดยควรให้มี

                  ความชื้นอยู่ในระดับที่พอเหมาะต่อการด่ารงชีพและการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก  โดยใช้
                  อัตราส่วนดังนี้ คือ วัสดุเศษพืช 1 ตัน ผสมปุ๋ยหมักที่เป็นแล้ว 200 กิโลกรัม และปุ๋ยไนโตรเจน 2 กิโลกรัม

                  ส่าหรับวิธีการกองปุ๋ยหมักปฏิบัติตามขั้นตอนการท่าปุ๋ยหมักและดูแลรักษากองปุ๋ยหมักที่กล่าวมาข้างต้น  ดัง

                  แสดงในภาพที่ 5.7  การกองปุ๋ยหมักโดยวิธีนี้จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนในการผลิตปุ๋ยหมักได้
                  เป็นอย่างดี (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)























                                        ภาพที่ 5.7 แสดงวิธีการกองปุ๋ยหมัก โดยวิธีการต่อเชื้อ
                                                            ที่มา: ดัดแปลงมาจากส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105