Page 99 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 99

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         88


                  สภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยหมักให้เหมาะสมต่อการด่าเนินการกิจกรรมของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายเศษวัสดุ

                  ซึ่งมีการปฏิบัติ ดั้งนี้
                             1) รดน้่ากองปุ๋ยควรกระท่าอย่างสม่่าเสมอ  เพื่อให้มีความชื้นภายในกองอยู่ในระดับที่มีความ

                  เหมาะสมกับจุลินทรีย์ คือ ประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก  ในทางปฏิบัติอาจจะสังเกตจากกองปุ๋ย

                  หมักว่าไม่แห้งและแฉะเกินไป  หรือตรวจสอบโดยการสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยให้ลึกและหยิบวัสดุในกองปุ๋ยมา
                  บีบดู  ถ้าความชื้นน้อยเกินไปจะท่าให้กระบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นได้ช้าจึงควรรดน้่ากองปุ๋ย  แต่ถ้าความชื้น

                  มากเกินไปจะมีผลต่อการระบายอากาศภายในกองปุ๋ย  ท่าให้เกิดสภาพการขาดออกซิเจนกระบวนการย่อย
                  สลายเกิดขึ้นได้ช้าเช่นกัน

                             2) กลับกองปุ๋ยเป็นการระบายอากาศลดความร้อนในกองปุ๋ยและช่วยให้วัสดุคลุกเคล้าเข้ากัน
                  เพื่อให้สภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยมีความเหมาะสมกับจุลินทรีย์ในการด่าเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ควรมีการ

                  กลับกองปุ๋ยทุกๆ 7 – 10 วัน

                             3) เมื่อกองปุ๋ยกลายเป็นปุ๋ยที่สมบูรณ์แล้ว  หากยังไม่ได้น่าไปใช้  ควรเก็บรักษาปุ๋ยหมักไว้ใน
                  โรงเรือนหรือสถานที่ที่มีก่าบังแดดและฝน  เพราะเมื่อปุ๋ยหมักถูกแดดหรือฝนจะท่าให้คุณภาพของปุ๋ยหมัก

                  ลดลง

                  6. หลักการพิจารณาลักษณะของปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์
                         โดยทั่วไปมักมีปัญหาอยู่เสมอว่า  วัสดุที่น่ามาท่าปุ๋ยหมักนั้นจะเป็นปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์เมื่อใดและ

                  พร้อมน่าไปใช้แล้วหรือยัง  ซึ่งข้อก่าหนดตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศไทยที่จะบอกว่าเป็นปุ๋ยหมักที่

                  สมบูรณ์ คือ ปุ๋ยหมักต้องมีค่าอัตราส่วนของสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N  ratio) ไม่เกิน 20:  1
                  (ส่านักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร,  2548ก)  เมื่อน่าปุ๋ยหมักใส่ลงดินแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อ

                  พืช  ค่า C/N ratio แต่ต้องส่งวิเคราะห์ทางเคมีท่าให้เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ถ้าเกษตรกรท่าปุ๋ยหมักไว้ใช้เองอาจ
                  ใช้หลักเกณฑ์ในภาคสนามต่างๆ ร่วมกันเพื่อพิจารณาว่าปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์  ส่าหรับหลักเกณฑ์ในการ

                  พิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์ในภาคสนามมี ดังนี้ (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                         6.1 สีของเศษวัสดุหลังจากเป็นหมักที่สมบูรณ์  จะมีสีน้่าตาลเข้มจนถึงด่าโดยปกติเมื่อใช้เศษพืชใน
                  การท่าปุ๋ยหมักจะเห็นความแตกต่างของสีที่ชัดเจน

                         6.2 ลักษณะของวัสดุที่เป็นปุ๋ยหมักสมบูรณ์  จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม ยุ่ยและฉีกขาดออกจากกันได้ง่าย
                  ไม่แข็งกระด้างเหมือนวัสดุเริ่มแรก

                         6.3 กลิ่นของวัสดุปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์  จะไม่มีกลิ่นเหม็น  ในกรณีที่มีกลิ่นเหม็นหหรือฉุนอยู่แสดงว่า

                  กระบวนการย่อยลายในกองปุ๋ยยังไม่สมบูรณ์
                         6.4 ความร้อนในกองปุ๋ย  หลังจากกองปุ๋ยหมัก 2 – 3 วัน อุณหภูมิในกองปุ๋ยจะสูงประมาณ 50 –

                  60 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิจะสูงอยู่ในระดับนี้ระยะหนึ่งแล้วจึงค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งใกล้เคียงกับภายนอก
                  กองปุ๋ย  จึงยอมรับว่าเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์  แต่ควรระวังเรื่องความชื้นในกองปุ๋ยด้วย เพราะในกรณีที่กองปุ๋ย

                  มีความชื้นน้อยหรือมากเกินไปอาจจะท่าให้ระดับอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยลดลงได้เช่นกัน  เนื่องจากกิจกรรม
                  การย่อยสลายของจุลินทรีย์ลดลง
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104