Page 93 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 93

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         82


                  ระหว่าง 7.0 – 8.5  และงานวิจัยของวรรณลดาและคณะ (2534ข) พบว่า จากการย่อยสลายวัสดุเศษพืชที่มี

                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของใบยูคาลิปตัสก่อนการท่าปุ๋ยหมักมีค่าเท่ากับ 3.9 หลังจากหมักเป็นเวลา 10 วัน
                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างจะเพิ่มขึ้น 5.2  จนกระทั่งหลังจากสิ้นสุดการหมักวัสดุดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน ค่า

                  ความเป็นกรดเป็นด่างของกองปุ๋ยหมักจากใบยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นเป็น 6.0

                  4. จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายเศษวัสดุในการกองปุ๋ยหมัก

                      กระบวนการย่อยสลายเศษวัสดุในกองปุ๋ยหมักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์  ในการ

                  ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง  จนกระทั่งเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้่า ความร้อนและ
                  สารประกอบฮิวมัส  เมื่อกระบวนการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์  จะได้สารประกอบที่มีความคงทนที่ เรียกว่า

                  “ปุ๋ยหมัก”  กระบวนการย่อยสลายดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิดประกอบกัน

                  ซึ่งแต่ละชนิดของจุลินทรีย์จะมีบทบาทในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณ
                  สารอาหารที่มีอยู่ในกองวัสดุและสภาพแวดล้อมภายในกอง  กลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในแต่ละช่วงเวลา

                  ของกระบวนการหมัก มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง  และกลุ่มที่ชอบอุณหภูมิสูง ดังตารางที่5.6
                  ดังนั้นจึงแบ่งระยะเวลาการหมักเป็น 3 ระยะ ตามอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมัก คือ

                        1) ระยะอุณหภูมิปานกลาง (mesophillic phase)  ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกของการย่อยสลายประมาณ
                  1 – 2 วัน  โดยอุณหภูมิจะอยู่ในช่วงประมาณ 30  –  45  องศาเซลเซียส  โดยจุลินทรีย์ใช้น้่าตาลและ

                  สารอาหารที่ย่อยสลายง่ายอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้อุณหภูมิของกองปุ๋ยเพิ่มสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส  ใน

                  ระยะนี้แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิปานกลางจะมีมากที่สุด  แต่เมื่ออุณหภูมิของกองปุ๋ยสูงกว่า 45 องศา
                  เซลเซียส  ก็จะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 2

                        2) ระยะอุณหภูมิสูง (thermophilic phase)  หลังจากหมักเศษวัสดุประมาณ 4 วัน  อุณหภูมิในกอง

                  ปุ๋ยจะเพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ระหว่าง 50 – 75 องศาเซลเซียส  ในสภาพดังกล่าวมีผลท่าให้จุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิ
                  ปานกลางเริ่มมีปริมาณลดลง  เนื่องจากไม่สามารถเจริญและด่ารงชีวิตอยู่ได้ในสภาพที่อุณหภูมิสูง  ใน

                  ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิสูงจะเริ่มเจริญและเพิ่มปริมาณมากขึ้น  ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์พวกนี้ยังคง
                  ด่าเนินกิจกรรมการย่อยสลายได้อย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะสารประกอบที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น ไซแลน

                  เซลลูโลส และลิกนิน เป็นต้น  ช่วงนี้ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสและ
                  ลิกนินได้ดี  เมื่อความร้อนในกองปุ๋ยหมักมากเกินกว่า 75 องศาเซลเซียส  จะมีผลท่าให้เชื้อจุลินทรีย์หลาย

                  ชนิดตายลงและมีผลท่าให้อัตราการย่อยสลายลดลง  ส่งผลท่าให้อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง  เมื่ออุณหภูมิ

                  ลดลงถึงระดับที่เชื้อจุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิสูงสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจ่านวนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะ
                  ด่าเนินกิจกรรมการย่อยสลายได้อีกก็จะท่าให้อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้นอีก  ลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้น

                  อย่างต่อเนื่อง  ท่าให้อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักช่วงนี้ประมาณ 45 – 65 องศาเซลเซียสและค่อนข้างคงที่ในช่วง

                  อุณหภูมิดังกล่าวนี้  จนกระทั่งสภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยหมักไม่เหมาะสมหรือวัสดุในกองปุ๋ยหมักถูกย่อยสลาย
                  จนใกล้จะสมบูรณ์ก็จะท่าให้อุณหภูมิลดลง  ในช่วงที่เกิดกิจกรรมย่อยสลายของจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น

                  ควรมีการปรับสภาพในกองปุ๋ยหมักให้เหมาะสม ได้แก่ การระบายอากาศโดยการกลับกองปุ๋ย  เพื่อเพิ่มการ
                  ถ่ายเทอากาศและท่าให้กองปุ๋ยมีความร้อนกระจายสม่่าเสมอ  และเอาวัสดุที่อยู่ภายนอกเข้ามารับความร้อน
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98