Page 94 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 94

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         83


                  ภายในกองปุ๋ยและควบคุมความชื้น  เพื่อท่าให้อัตราการย่อยสลายโดยกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์ที่ชอบ

                  อุณหภูมิสูงเหล่านี้ด่าเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายเศษวัสดุอย่างรวดเร็วท่าให้
                  ระยะเวลาการท่าปุ๋ยหมักน้อยลง

                        3) ระยะอุณหภูมิปานกลางครั้งที่สองหรือระยะบ่ม (ระยะอุณหภูมิลดลง)  เมื่อผ่านระยะอุณหภูมิสูง

                  ไปแล้วแหล่งอาหารที่ใช้ได้ง่ายส่าหรับจุลินทรีย์ก็เหลือน้อย  เป็นเหตุให้กิจกรรมโดยรวมของจุลินทรีย์ลดต่่าลง
                  อุณหภูมิจึงลดลงมาใกล้เคียงกับอุณหภูมิของอากาศรอบกองปุ๋ย  จุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิระดับนี้จะมีการ

                  เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง  ระยะนี้อาจกินเวลาตั้งแต่ 3 – 5 สัปดาห์หรือหลายเดือนขึ้นอยู่กับชนิดของเศษ
                  วัสดุและสภาพแวดล้อมในกองปุ๋ย


                  ตารางที่ 5.6 ประชากรจุลินทรีย์ (จํานวนต่อกรัมปุ๋ยหมัก) ในกองปุ๋ยระหว่างการหมักแบบใช้ออกซิเจน

                                                                             ระยะอุณหภูมิ
                                     ระยะแรกอุณหภูมิปาน  ระยะอุณหภูมิสูง                          จ่านวนชนิด
                         จุลินทรีย์                                        ปานกลางครั้งที่สอง
                                                 0
                                                                  0
                                       กลาง (< 40  C)     (40 – 70  C)                            ของจุลินทรีย์
                                                                               0
                                                                            70  C แล้วลดลง
                      แบคทีเรีย
                                                                  6
                                                                                    11
                                               8
                        - mesophile          10                 10                10                  6
                                                                  9
                        - hermophile         10 4               10                 107                1
                      แอคติโนไมซีสต์
                        - hermophile         10 4               10 8               10 5              14
                      รา
                                                                                     5
                                                                  3
                                               6
                        - mesophile          10                 10                 10                18
                                                                                     6
                                                                  7
                        - hermophile         10 3               10                 10                16

                      ที่มา: Day and Shaw (2001)


                         ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในกองปุ๋ยหมักดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็น
                  ตอน  ตามกิจกรรมของเชื้อจุลินทรีย์แต่ละกลุ่ม  ซึ่งจะเห็นได้ว่ากระบวนการย่อยสลายดังกล่าวต้องอาศัย

                  เชื้อจุลินทรีย์หลายประเภทประกอบกันในลักษณะของเชื้อผสม (mix culture)  เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถ
                  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ

                        1.แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็กมีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วและมี
                  รูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น ทรงกลม (cocci)    รูปท่อน(bacilli)  และรูปเกลียว (spiral)  เป็นต้น  จึงเพิ่ม

                  ประชากรมากตั้งแต่เริ่มตั้งกอง  จึงมีปริมาณมากที่สุดในกองปุ๋ยหมักประมาณ 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ของ

                  เชื้อจุลินทรีย์ที่พบในกองปุ๋ยหมัก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวัสดุที่ใช้หมักมีสารอาหารที่ใช้ได้ง่ายอยู่มาก
                  แบคทีเรียก็จะย่อยสลายสารอาหารเหล่านั้นอย่างรวดเร็วและปลดปล่อยความร้อนออกมาปริมาณมาก  กอง

                  ปุ๋ยจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น  เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส  แบคทีเรียพวกที่ไม่ทนอุณหภูมิสูงก็จะชะงัก

                  การเจริญเติบโตและพวกที่ชอบอุณหภูมิสูงก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นไปอีก  ส่งผลให้อุณหภูมิในกองปุ๋ยสูงขึ้นเรื่อยๆ
                  แต่ถ้าความร้อนเกิดขึ้นเร็วและกระจายออกไปได้ช้า  ความร้อนก็จะสะสมในกองปุ๋ยมากเกินไป เช่น สูงกว่า
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99