Page 101 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 101

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         90


                  8. การผลิตปุ๋ยหมัก

                         การผลิตปุ๋ยหมักมี 2 แบบ คือ การผลิตใช้เอง และการผลิตแบบอุตสาหกรรม

                         8.1 การผลิตปุ๋ยหมักแบบใช้เอง ควรปฏิบัติตามมีขั้นตอน ดังนี้
                                การน่าเศษวัสดุมากองท่าปุ๋ยหมักในพื้นที่ราบ  ซึ่งไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์มากนัก  โดยขั้นตอนการ

                  ท่าปุ๋ยหมักและดูแลรักษากองปุ๋ยหมักให้ปฏิบัติตามที่กล่าวมาในหัวข้อ 5  เรื่องการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่ง
                  ซุปเปอร์ พด.1    โดยส่วนผสมของวัสดุในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย เศษพืชแห้ง จ่านวน 1,000

                  กิโลกรัม  มูลสัตว์  จ่านวน 200 กิโลกรัม  ปุ๋ยไนโตรเจน (ยูเรีย) จ่านวน 2 กิโลกรัม หรือน้่าหมักจากปลา 9

                  ลิตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ่านวน 1 ซอง  วิธีนี้มีต้นทุนต ่าแต่ใช้พื้นที และแรงงานมาก  อาจสร้างความ
                  สกปรกในกรณีที กองปุ๋ยถูกท่าลายจากสัตว์เลี้ยงหรือภัยธรรมชาติ  การผลิตแบบนี้มีความเหมาะสมเฉพาะการ

                  ผลิตปุ๋ยหมักเพื อใช้เองในระดับไร่นา
                         8.2 การผลิตแบบอุตสาหกรรม

                               เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบอุตสาหกรรม มีการปรับปรุงวิธีการหมักให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงมี

                  ความจ่าเป็น เช่น การบดวัสดุให้มีขนาดเล็กลงก่อนหมัก  การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยเร่งปฏิกิริยา และการใช้
                  เครื่องจักรทดแทนแรงงานคนในขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น  การผลิตแบบนี้คุ้มค่าต่อการลงทุนเมื่อผลิตในปริมาณ

                  มาก  ใช้เครื่องจักรและการจัดการที่ซับซ้อน  เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบอุตสาหกรรมมีหลายแบบ เช่น
                  แบบกองยางในแนวรางซีเมนต์  แบบกองยาวบนพื้นราบ  และแบบถังแนวตั้ง (Tchobanoglous  and

                  Kreith, 2002)

                              8.2.1 แบบกองยาวในรางซีเมนต์ (Passively aerated bins) เป็นวิธีการท่าปุ๋ยหมักที่มีวิธีการ
                  ซับซ้อนน้อยและท่าปุ๋ยหมักในพื้นที่ท่าขึ้นจากคอนกรีต  ที่มีลักษณะเป็นก่าแพง 3 ด้าน  ในบางครั้งอาจมีการ

                  ท่าหลังคาเพื่อคลุมกองปุ๋ย  มีการให้อากาศและมีการพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก  การท่าปุ๋ยหมักวิธีนี้จะเริ่มจาก
                  การน่าวัสดุที่ย่อยสลายได้มากองในรางหรือคอกแล้วคลุมทับด้วยปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว  เพื่อ

                  ป้องกันการแพร่กระจายของกลิ่น  มีการวางท่อบริเวณด้านล่างของกองเพื่อให้อากาศสามารถแพร่เข้าสู่กอง

                  ปุ๋ยได้และไม่มีการพลิกกลับกองในระหว่างการหมัก  (Goldstein  and  Block,  1997)  ดังภาพที่ 5.9
                  นอกจากนี้ยังมีการหมักโดยวัสดุอยู่ในรางยาวและมีการกวนวัสดุส่าหรับรางที่หมักท่าด้วยคอนกรีต  สร้างใน

                  อาคารจ่านวนหลายราง  ขนาดของราง คือ สูง 1 – 2 เมตร กว้าง 2 – 4 เมตร และยาว 50 – 100 เมตร
                  และด้านบนเปิดเพื่อให้เครื่องกวนท่างานตามแนวยาวของราง ดังภาพที่ 5.10  การหมักเริ่มจากการใส่วัสดุที่

                  ต้นทาง  โดยเครื่องกวนจะคลุกเคล้าวัสดุและเติมออกซิเจนพร้อมพ่นน้่า  ขณะเดียวกันก็ค่อยๆ ดันวัสดุให้ไป

                  ข้างหน้าทีละน้อย  เปิดช่องให้เติมวัสดุใหม่เข้ามา  ส่าหรับวัสดุที่ค่อยๆ เคลื่อนตัวไปข้างหน้านั้น  เมื่อถึงปลาย
                  รางก็เคลื่อนที่ย้อนกลับมา  โดยใช้เวลาประมาณ 10 – 28 วัน แล้วแต่ชนิดของวัสดุ  จากนั้นน่าออกไปบ่มจน

                  ได้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพตามต้องการ (ยงยุทธและคณะ, 2551)  ดังภาพที่ 5.10
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106