Page 91 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 91

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         80


                  อุณหภูมิปานกลาง (mesophile)   สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25 – 45 องศาเซลเซียส  และ 3)

                  จุลินทรีย์ประเภทชอบอุณหภูมิสูง (thermophile)    สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิมากกว่า 45 องศา
                  เซลเซียส  ดังนั้นจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปุ๋ยหมักจึงมีเพียง 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่ชอบอุณหภูมิสูงและ

                  ปานกลาง  เพราะว่าอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักจะมีการเปลี่ยนแปลง 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะอุณหภูมิ

                  ปานกลาง  ระยะที่ 2 ระยะอุณหภูมิสูง  และระยะที่ 3 ระยะอุณหภูมิปานกลางครั้งที่สองหรือระยะบ่ม(ระยะ
                  อุณหภูมิลดลง)  ซึ่งมีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์  ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อจุลินทรีย์ที่

                  เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายเศษวัสดุในการกองปุ๋ยหมัก
                         จากผลการทดลองของ Bertoldiet et al. (1983) รายงานเกี่ยวกับปริมาณจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักที่

                  มีอุณหภูมิสูง พบว่าเชื้อจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและแอคติโนมัยซิสสามารถทนและอยู่รอดได้ดีแต่เชื้อรามี
                  ปริมาณลดลง  จากการปรับระดับอุณหภูมิให้คงที่ที่ระดับต่างๆ กัน  แล้ววัดปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ที่

                  ถูกปลดปล่อยออกมาเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายพบว่าที่อุณหภูมิ 57 – 60 องศาเซลเซียส (ความชื้น 60

                  เปอร์เซ็นต์)  กระบวนการย่อยสลายเกิดได้ดี  โดยมีปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยออกมามาก
                  แต่อุณหภูมิที่ต่่าหรือสูงกว่านี้ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยจะลดลง  แสดงว่าอุณหภูมิระหว่าง

                  57 – 60 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมต่อการเพิ่มอัตราการย่อยสลายอินทรียวัตถุ  ถ้าอุณหภูมิสูงมาก

                  เกินไปประมาณ 70  องศาเซลเซียส จะมีผลยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ย  ท่าให้การย่อยสลาย
                  สารประกอบอินทรีย์ลดลงและกิจกรรมของจุลินทรีย์จะลดลงตามไปด้วย  และเมื่ออุณหภูมิค่อยๆลดลงจนถึง

                  ระดับที่เหมาะสมเชื้อจุลินทรีย์ที่เหลือรอดอยู่จะเริ่มกิจกรรมในการย่อยสลายต่อไป (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพ
                  ทางดิน, 2551)


                         ระดับอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมชนิดและขนาดของ
                  เศษวัสดุ  จากรายงานวิจัยของเสียงแจ๋วและคณะ (2534) พบว่า ชนิดและลักษณะของวัสดุเศษพืชนั้นมีผลต่อ

                  การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักด้วย โดยวัสดุที่เป็นเส้นขนาดใหญ่ ได้แก่ ฟางข้าวและผักตบชวา
                  จะมีอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักสูงระหว่าง 45 – 50 องศาเซลเซียส  แต่วัสดุที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ กากอ้อย แกลบ

                  และเศษปอจะมีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสนอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในกองปุ๋ย

                  หมักยังขึ้นอยู่กับการเติมปัจจัยบางชนิดร่วมกับวัสดุเศษพืชในการท่าปุ๋ยหมักด้วย ได้แก่ การเติมมูลสัตว์ลงใน
                  กองปุ๋ยหมัก  ดังรายงานของวรรณลดาและคณะ (2534ก)  ว่า ผลของมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ต่อกิจกรรมของ

                  จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจากฟางข้าว  พบว่าการใส่มูลสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นมูลไก่ มูลวัวหรือมูลสุกร  ในอัตรา
                  ตั้งแต่ 20 เปอร์เซ็นต์  จะมีผลท่าให้อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมักสูงกว่าการไม่ใส่มูลสัตว์ในช่วง 5 วันแรกของ

                  การท่าปุ๋ยหมัก  ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยจาก 51 เป็น 60 องศาเซลเซียส  และการใส่มูลสัตว์ในอัตราที่เพิ่มมากขึ้น

                  จะส่งเสริมการเพิ่มอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมากขึ้น ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในกองปุ๋ยหมักจะเป็นค่าที่บ่งบอกถึง
                  การเพิ่มประสิทธิภาพอัตราการย่อยสลาย  และมีความสอดคล้องกับอัตราส่วนการลดลงของค่า C/N ratio ใน

                  กองปุ๋ยหมักด้วย
                         การเปลี่ยนแปลงระดับของอุณหภูมิตามที่ได้กล่าวแล้วนี้  โดยเฉพาะระยะที่สองที่มีอุณหภูมิสูงถึง 50

                  – 70 องศาเซลเซียส  จะมีผลไปท่าลายเมล็ดวัชพืชและไข่แมลง  แม้แต่เชื้อโรคต่างๆของคนและเชื้อโรคพืชก็
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96