Page 92 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 92

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         81


                  ถูกท่าลายด้วย  โดยทั่วไปเชื้อราสาเหตุโรคพืชจะถูกท่าลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป  ส่วนเชื้อ

                  โรคของคนมักถูกท่าลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 55 องศาเซลเซียส (ยงยุทธและคณะ,2551)  เชื้อโรคต่างๆ อาจมี
                  ชีวิตอยู่รอดภายใต้อุณหภูมิที่สูงแตกต่างกันไป เช่น เชื้อ Salmonella  thyphosa ที่อยู่ในอุณหภูมิ 55 องศา

                  เซลเซียส จะตายภายใน 30 นาที  แต่ถ้าเพิ่มอุณหภูมิเป็น 60 องศาเซลเซียส จะตายภายใน 20 นาที  ดัง

                  ตารางที่ 5.5

                  ตารางที่ 5.5 อุณหภูมิที่ทําให้เชื้อโรคและปรสิตทั่วไปตาย

                                เชื้อโรค                 50  องศา           55  องศา            60  องศา

                                                         เซลเซียส            เซลเซียส            เซลเซียส

                       Salmonella  thyphosa                 --               30 นาที             20 นาที
                       Salmonella  sp.                      --               60 นาที           15 – 20 นาที

                       Shigella sp.                         --               60 นาที                --
                       Escherichia coll                     --               60 นาที           15 – 20 นาที

                       Streptococcus pyogens                --               10 นาที                --
                       Mycobacterium                        --               45 นาที                --

                       diptheriae

                       Brucellusabortusor suis              --               60 นาที              3 นาที

                      ที่มา: Day and Shaw (2001)

                      3.6 ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง
                         จุลินทรีย์ส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีในระดับความเป็นกรดเป็นด่างที่เป็นกลางระหว่าง 6.5 – 7

                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียและแอคทิโอไมซีสจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6 –

                  8  แต่ถ้าค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่่ากว่า 5  แบคทีเรียและแอคทิโอไมซีสจะเจริญเติบโตลดลง  ในขณะเชื้อรา
                  เป็นจุลินทรีย์ที่ทนกรดได้ดีกว่า  จึงจะเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณได้มากกว่า (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,

                  2541)  แต่ระดับความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมกับกระบวนการหมักอยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5  อย่างไรก็ตาม
                  เนื่องจากสารที่ได้ระหว่างการหมักมีลักษณะของ buffer ที่ดี  ดังนั้นแม้เศษวัสดุที่น่ามาหมักจะมีความเป็น

                  กรดเป็นด่างที่แตกต่างกัน เช่น ตะกอนน้่าเสียมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่ 5.0 – 6.5  เมื่อน่ามาหมักความ
                  เป็นกรดเป็นด่างในกองปุ๋ยจะมีค่าอยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5  จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรด

                  เป็นด่างในการหมักวัสดุต่างๆ พบว่า ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ขี้เลื่อย กากตะกอนน้่าเสียและเปลือกยูคาลิปตัส มี

                  ค่าระดับความเป็นกรดเป็นด่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก  และปุ๋ยหมักที่ได้มีค่าระดับความเป็นกรดเป็นด่าง
                  ระหว่าง 6.7 –8.1 (ยงยุทธและคณะ,  2551)  ซึ่งสอดคล้องกับกับงานวิจัยของ  Stuzenbergeret  et  al.

                  (1970) พบว่า ระดับความเป็นกรดเป็นด่างจากตัวอย่างที่เก็บจากกองปุ๋ยหมัก  น่ามาหาค่าเฉลี่ยในช่วง 3 วัน

                  แรกจะลดลงจากเดิมเหลือ 5.3 ถึง 5.7  เนื่องจากในช่วงแรกจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายวัสดุที่ย่อยสลายได้
                  ง่ายอย่างรวดเร็วและผลิตกรดอินทรีย์บางชนิด  มีผลท่าให้ระดับความเป็นกรดเป็นด่างลดลงจากนั้นจะค่อยๆ

                  เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง  และเมื่อสิ้นสุดการหมักจะได้ปุ๋ยหมักมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97