Page 95 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         84


                  65 – 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป  ท่าให้แบคทีเรียที่ทนความร้อนส่วนใหญ่ชะงักการเจริญเติบโตเหลือเพียงมีกี่

                  ชนิดที่ทนทานอยู่ได้  ส่งผลให้การย่อยสลายวัสดุช้าลง  เมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักค่อยๆ ลดลง
                  แต่ก็มีแบคทีเรียและจุลินทรีย์ทนอุณหภูมิสูงกลุ่มอื่นๆ ยังมีบทบาทในการย่อยสลายวัสดุต่อไประยะหนึ่ง

                  จนกระทั่งอุณหภูมิลดลงต่่ากว่า 40 องศาเซลเซียส  กิจกรรมของแบคทีเรียทนอุณหภูมิปานกลางจะมีปริมาณ

                  มากขึ้นและมีบทบาทมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ไปจนกระบวนการหมักสิ้นสุดลง
                        ในการศึกษาปริมาณประชากรจุลินทรีย์โดยทั่วไป พบว่า ในช่วงที่อุณหภูมิปานกลางจ่านวนของ

                  แบคทีเรียมีมากกว่าจ่านวนของเชื้อรา  อาจพบได้มากเป็น 100 เท่าของเชื้อรา  แบคทีเรียที่พบเสมอในช่วงนี้
                  ได้แก่ Bacillus sp., Pseudomonas sp., Arthrobacter sp. และ Alicaligenes sp.  แม้จะพบแบคทีเรีย

                  ในจ่านวนที่มากกว่าเชื้อราหลายเท่า  แต่ก็ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าจุลินทรีย์กลุ่มใดมีบทบาทมากว่ากันในช่วง
                  นี้  เนื่องจากเชื้อรามีลักษณะเป็นเส้นใยและมีขนาดของเซลล์ที่ใหญ่กว่า  นอกจากนี้การเจริญเติบโตยัง

                  สามารถทอดเส้นใยข้ามช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนวัสดุได้ดีและรวดเร็วกว่าแบคทีเรียมาก  ทั้งยังมีการปล่อย

                  เอนไซม์ออกนอกเซลล์มาย่อยสลายวัสดุอินทรีย์
                        ส่าหรับในช่วงที่อุณหภูมิสูงใกล้ถึง 60 องศาเซลเซียส เชื้อรายังคงมีบทบาทร่วมกับแบคทีเรีย  แต่เมื่อ

                  อุณหภูมิสูงมากกว่านี้เชื้อราก็จะหยุดกิจกรรมลง  โดยทั่วไปอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเส้นใยและสปอร์ของ

                  เชื้อราจะถูกท่าลาย  ดังนั้นกิจกรรมการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์จึงเกิดจากแบคทีเรียและแอคทิโนไมซิสพวกที่
                  ทนความร้อน  แบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่ Streptococcus  sp.,  Vibrio  sp.  และ Bacillus  sp.  รวมกัน

                  มากกว่า 2,000 สายเชื้อ  บางครั้งความร้อนในกองปุ๋ยสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส พบว่า แอคทิโนไมซิสที่ทน
                  ความร้อนก็จะตายไปเหลือแต่แบคทีเรียบางชนิดที่ทนความร้อนจัดเท่านั้น  ได้แก่ Bacillus  sp และ

                  Thermusaquaticus  โดยร้อยละ 87 เป็น Bacillus sp. ได้แก่ B. Subtilis, B. Stearothermophili  และ
                  B. licheniformis  พวก Bacillus sp. จัดเป็นพวกที่สามารถสร้างสปอร์ได้จากการตรวจสอบพบว่าสปอร์จะ

                  เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส  นอกจากนี้ยังพบว่ามีพวก Clostridium sp. ซึ่งสามารถสร้าง

                  สปอร์ได้เช่นกัน  แต่เจริญในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551; ยงยุทธและคณะ,
                  2551)

                        2.แอคติโนไมซิสต์ (Actinomycetes) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งเพราะมีผนัง
                  เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ตลอดจนขนาดที่เหมือนกับแบคทีเรียทั่วไป  แต่มีลักษณะรูปร่างการ

                  เจริญเติบโตในรูปแบบการแตกแขนงเป็นเส้นใยและสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา  เพียงแต่เส้นใยมีขนาดเล็กและสั้น

                  กว่าเชื้อรามาก  จึงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อราหรือแบคทีเรีย  การเพิ่มปริมาณ
                  ในกองปุ๋ยก็ช้ากว่าเชื้อราและแบคทีเรียด้วยในช่วงแรกของหมัก  หลังจากกระบวนการหมักผ่านไป 5 – 7 วัน

                  จะพบแอคทิโนไมซีสต์มีปริมาณมากและเจริญได้ดี  เพราะสารประกอบที่ย่อยสลายง่ายอื่นๆ ถูกจุลินทรีย์ชนิด
                  อื่นๆ ใช้ไปเกือบหมดแล้วเหลือแต่สารอินทรีย์ประเภทอินทรีย์ประเภทที่ย่อยสลายยากเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งมีแต่

                  กลุ่มจุลินทรีย์แอคติโนไมซิสต์ที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะกลุ่มจุลินทรีย์นี้ทนทานต่อสภาพที่ไม่

                  ค่อยเหมาะสม เช่น ความชื้นต่่า  อุณหภูมิสูง  แต่ต้องการการออกซิเจนและผลิตเอนไซม์เซลลูเลสออกมาย่อย
                  เซลลูโลสได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ท่าให้สามารถใช้สารอินทรีย์ประเภทที่ย่อยสลายยากได้ดีและใช้ได้

                  หลากหลายชนิด  จึงมีบทบาทส่าคัญในการย่อยสลายเซลลูโลส  ลิกนิน และสารประกอบที่ย่อยสลายยากอื่นๆ
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100