Page 89 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 89

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         78


                  ลงทุนแต่ต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้น  จากการศึกษาวิธีการระบายอากาศต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก

                  จากฟางข้าวของพิทยากรและคณะ (2534) พบว่า การกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 10 วัน ท่าให้ปริมาณจุลินทรีย์ใน
                  กองปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 30 วันแรกของการกองปุ๋ยหมัก  หรือจะท่าการกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ

                  20 วัน  หรือท่าการกลับกองปุ๋ยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นในกองปุ๋ย 50 องศาเซลเซียสได้  ซึ่งจะช่วยท่าให้ปริมาณ

                  จุลินทรีย์เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน  และท่าให้อัตราการลดลงของค่า C/N  ratio ลดลงใกล้เคียงกันระหว่าง 20:1  ถึง
                  30:1  หลังจากหมักฟางข้าวประมาณ 3 เดือน  ส่าหรับในกรณีที่ไม่มีแรงงานเพียงพอในการกลับกองปุ๋ยหมัก

                  อาจจะใช้วิธีการ 2 วิธีการ ดังนี้
                            1 การใช้การเติมอากาศแบบธรรมชาติ (passive  aeration)  ซึ่งอาศัยกลไกที่ท่าให้อากาศ

                  เคลื่อนไหว 3 แบบ (ยงยุทธและคณะ, 2551) คือ
                               1.1 การแพร่โมเลกุล  เกิดเนื่องจากการใช้ออกซิเจนในการหมัก  ดังนั้นความเข้มข้นของ

                  ออกซิเจนภายนอกกองย่อมสูงกว่าภายในกองเสมอ  จึงเกิดมีการแพร่ของออกซิเจนเข้าไปอย่างต่อเนื่อง

                  เพื่อให้เกิดสมดุล  แต่กระบวนการนี้เกิดขึ้นช้ามากจึงไม่ถือเป็นกลไกส่าคัญของการเติมอากาศให้กองปุ๋ย
                               1.2 ลมมีความส่าคัญในการเคลื่อนที่ของอากาศ  เพื่อเติมออกซิเจนส่าหรับกองวัสดุในที่โล่ง

                  และมีลมโกรก  อาจเห็นไอน้่าโชยออกมาจากกองวัสดุ

                               1.3 การพาความร้อน เป็นกลไกที่ส่าคัญของการเติมอากาศแบบธรรมชาติ  เพราะความร้อนที่
                  เกิดจากการหมัก  ท่าให้อุณหภูมิของอากาศและวัสดุในกองสูงขึ้นและอากาศลอยออกจากกอง  เป็นเหตุให้

                  อากาศใหม่ภายนอกกองที่เย็นกว่าเข้าไปแทนที่  ดังนั้นอัตราการถ่ายเทอากาศจึงขึ้นอยู่กับความแตกต่าง
                  ระหว่างอุณหภูมิภายในและภายนอกกองปุ๋ย  และความต้านทานการไหลของอากาศผ่านวัสดุในกองปุ๋ยนั้น

                  ดังนั้นการท่าให้กองปุ๋ยมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการพาความร้อนและสภาพของกองปุ๋ยมีความพรุนมาก
                  พอและมีช่องต่อเนื่อง  จะท่าให้การเติมอากาศแบบธรรมชาติเกิดขึ้นได้ดี

                               เช่น การผลิตปุ๋ยหมักโดยการใช้ท่อหรือไม้ไผ่สอดในกองปุ๋ยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยระบบเติม

                  อากาศโดยใช้ลูกหมุน และการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 (ธีระพงษ์, 2555)
                            2. การเติมอากาศด้วยแรง (force  aeration) เป็นการใช้วิธีกล เช่น พัดลมประกอบกับท่อน่า

                  อากาศ  อุปกรณ์อื่นๆ ที่จ่าเป็น และเครื่องควบคุม  ซึ่งมีหลายระบบเช่นใช้พัดลมหลายเครื่องและควบคุมแต่
                  ละเครื่องเป็นให้ปิดเปิดเป็นอิสระต่อกัน  หรือมีพัดลมหลายเครื่องประกอบเข้ากับท่อลมใหญ่และแยกเป็นท่อ

                  ลมย่อยควบคุมเข้าไปแต่ละกองปุ๋ย  โดยการเติมอากาศแบบนี้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ ใช้แรงอัดเพื่อดันอากาศให้

                  กระจายไปตามเครือข่ายท่อย่อยสู่บริเวณที่ก่าหนด  และใช้แรงดูดเพื่อดูดอากาศจากภายนอกมาสู่ท่อ
                  เครือข่ายแล้วเคลื่อนที่เข้าหาวัสดุในกอง  เมื่อเปรียบเทียบสองระบบนี้แล้ว พบว่า การใช้แรงดันเหมาะส่าหรับ

                  การเติมอากาศในกองปุ๋ย  ส่วนการใช้แรงดูดเหมาะส่าหรับการดูดกลิ่นเหม็นออกจากกองปุ๋ย  ดังนั้นการใช้ทั้ง
                  สองระบบร่วมกันโดยมีการปรับทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศให้เหมาะสมกับแต่ละระยะของการหมักก็จะ

                  ได้ผลดี กล่าวคือให้ระบบใช้แรงดูดท่างานในช่วงแรกเพื่อรวบรวมแก๊สที่มีกลิ่นเหม็นในกองออกไปก่าจัด

                  ในช่วงต่อมาก็ให้ระบบใช้แรงดันเพื่อเติมอากาศให้กองปุ๋ย  นอกจากนี้การกลับทิศทางการไหลของอากาศจะ
                  ช่วยในการปรับความชื้นและอุณหภูมิของกองปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิก

                  กลับกองระบบการเติมอากาศ (ธีระพงษ์, 2549)  เพื่อเป็นการช่วยระบายอากาศภายในกองปุ๋ยหมักได้  และ
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94