Page 88 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 88

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         77


                  โดยน้่าหนักถ้าหากมีความชื้นต่่ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ  ถึงแม้ว่ามีแบคทีเรียที่

                  สามารถมีกิจกรรมได้เมื่อวัสดุมีความชื้นเพียง 12 – 15 เปอร์เซ็นต์  แต่การย่อยสลายอินทรียสารในสภาพ
                  ดังกล่าวจะช้ามาก  ต้องใช้เวลาการหมักนานกว่าปกติและได้ปุ๋ยหมักที่คุณภาพไม่ดี  แต่ถ้าความชื้นมากเกิน

                  กว่า 80 เปอร์เซ็นต์  จะท่าให้กองปุ๋ยหมักแฉะเกินไปมีผลท่าให้ปริมาณอากาศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ

                  ของจุลินทรีย์  ส่งผลกระทบกระบวนการย่อยสลายเศษวัสดุชะลอลง  บางครั้งอาจท่าให้เกิดกรดอินทรีย์สะสม
                  เป็นปริมาณมาก  เป็นเหตุให้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพต่่าลง  เพราะกรดอินทรีย์ที่ค้างอยู่อาจเป็นพิษต่อจุลินทรีย์หรือ

                  มีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของรากพืชได้  นอกจากความชื้นมีผลโดยตรงต่อการเจริญและกิจกรรมของ
                  เชื้อจุลินทรีย์แล้ว  ยังมีผลทางอ้อมต่อการระบายอากาศด้วย กล่าวคือถ้าความชื้นมีมากเกินไปการ

                  แพร่กระจายของออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะเกิดได้ยาก  จนท่าให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนและมีผลต่ออัตรา
                  การย่อยสลายสารอินทรีย์ดังกล่าวแล้ว  เป็นผลท่าให้เกิดการหมักแบบสภาพที่ไม่มีอากาศจะเกิดกลิ่นเหม็น

                  ภายในกองปุ๋ยหมัก  ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ระเหยจ่าพวก  มีเทน  ฟอสฟิน  และไฮโดรเจนซัลไฟด์  โดยกลุ่ม

                  จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ  และมีผลท่าให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารจากวัสดุเศษพืชในระหว่างการท่าปุ๋ย
                  หมักด้วย เช่น ไนโตรเจนจะเปลี่ยนรูปไปเป็นแอมโมเนีย

                            ความชื้นในกองเศษวัสดุมาจากสองแหล่ง คือ ความชื้นเดิมของวัสดุและความชื้นที่เกิดจาก

                  metabolism ของจุลินทรีย์  ส่าหรับความชื้นที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียสารของจุลินทรีย์นั้นประมาณ
                  0.55 – 0.65 กรัมต่อกรัมวัสดุ  โดยปกติภายในกองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นท่าให้มีการสูญเสียน้่าจากการ

                  ระเหยระหว่างการหมักอย่างต่อเนื่อง  เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากระบวนการย่อยสลายอินทรียสารของ
                  จุลินทรีย์ 1 กรัมแบบใช้ออกซิเจน  จะให้พลังงานความร้อนประมาณ 25 กิโลจูล  ซึ่งเพียงพอส่าหรับการน้่า

                  ระเหย 10.2 กรัม หรือประมาณ 10 เท่าของน้่าที่ได้จากจากกิจกรรมการสลายตัวของเศษวัสดุโดยจุลินทรีย์
                  ดังนั้นจึงจ่าเป็นต้องควบคุมให้กองปุ๋ยหมักมีความชื้นระยะแรกและระยะต่อมาประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์  แล้ว

                  ปล่อยให้ลดลงที่ละน้อยจนปุ๋ยหมักที่มีความชื้น 40 เปอร์เซ็นต์  เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตควรให้มี

                  ความชื้นไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551; ยงยุทธและคณะ, 2551)
                        3.4 การระบายอากาศ

                               การระบายอากาศในกองปุ๋ยหมักเป็นสิ่งจ่าเป็นอีกประการหนึ่ง  เนื่องจากการย่อยสลายเศษวัสดุ
                  โดยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนจะมีปฏิกิริยาที่รวดเร็วกว่าจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจนหลายเท่า  ดังนั้นถ้าไม่

                  มีการระบายอากาศในกองปุ๋ยจะท่าให้เกิดสภาพขาดออกซิเจน  ซึ่งมีผลต่ออัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์เป็น

                  ผลท่าให้เกิดการหมักแบบสภาพที่ไม่มีอากาศ  จะเกิดกลิ่นเหม็นภายในกองปุ๋ยหมัก  ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์
                  ระเหยจ่าพวกมีเทนและไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ  มีผลท่าให้เกิดการสูญเสียธาตุ

                  อาหารจากวัสดุเศษพืชในระหว่างการท่าปุ๋ยหมักด้วย เช่น ไนโตรเจนจะเปลี่ยนรูปไปเป็นแอมโมเนีย เป็นต้น
                  จากที่กล่าวข้างต้นจึงจ่าเป็นต้องมีการระบายอากาศในกองปุ๋ยเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอต่อการ

                  เจริญและย่อยสลายเศษซากพืชของจุลินทรีย์ (Macgregor, 1981)

                            การระบายอากาศหรือการเพิ่มออกซิเจนให้แก่กองปุ๋ยอาจจะท่าได้โดยการกลับกองปุ๋ย  ซึ่ง
                  นอกจากจะมีผลดีในการระบายอากาศแล้วยังช่วยคลุกเคล้าเศษวัสดุต่างๆ ให้เข้ากันอย่างสม่่าเสมอ  การกลับ

                  กองปุ๋ยหมักในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะท่าให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ด่าเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีการที่ไม่ต้อง
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93