Page 86 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 86

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         75


                  ไปด้วย 1  หน่วย  จึงจะท่าให้เกิดความสมดุลของสารประกอบทั้งสองในเซลล์และจุลินทรีย์สามารถ

                  เจริญเติบโตได้ดี (Alexander, 1977)  ดังนั้นการท่าปุ๋ยหมักมักจะพิจารณาถึง C/N ratio ของเศษวัสดุนั้นๆ
                  เศษพืช  โดยทั่วไปมีอินทรีย์คาร์บอนเป็นองค์ประกอบอยู่ใกล้เคียงกัน คือ อยู่ในช่วงประมาณ 45 – 50

                  เปอร์เซ็นต์  แต่จะมีปริมาณไนโตรเจนแตกต่างกันค่อนข้างมาก ดังนั้น ปริมาณไนโตรเจนเศษพืชจึงเป็นปัจจัย

                  ที่ส่าคัญในการก่าหนดอัตราการย่อยสลาย  ส่าหรับเศษวัสดุพืชที่น่ามาใช้ท่าปุ๋ยหมักอาจจะแบ่งออกได้เป็น 2
                  พวก คือ พวกที่ย่อยสลายได้ง่ายกับพวกที่ย่อยสลายได้ยาก

                          1)  เศษวัสดุพืชพวกที่ย่อยได้ง่าย ได้แก่ เศษวัสดุพืชที่มีค่า C/N  ratio ต่่า ดังตารางที่ 5.3 เช่น ต้น
                  พืชตระกูลถั่วต่างๆ  อาจจะไม่จ่าเป็นต้องเติมสารไนโตรเจน หรืออาจจะเติมในปริมาณที่น้อยกว่าที่ใช้กับเศษ

                  วัสดุที่มีค่า C/N  ratio  สูง  วัสดุเศษพืชตระกูลถั่วมีปริมาณไนโตรเจนค่อนข้างสูงกว่าวัสดุการเกษตรชนิดอื่น
                  ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มอัตราการย่อยสลายได้มากขึ้น  และใช้ระยะเวลาการย่อยสลายสั้นกว่าวัสดุที่มีปริมาณไนโตรเจน

                  ต่่า (Cotrufoet  et  al.,  1995)  ท่าให้วัสดุเหล่านี้จะใช้เวลาน้อยในการย่อยสลายเพราะเมื่อน่าต้นถั่วที่มี

                  ไนโตรเจนมากมาหมัก  จุลินทรีย์ก็จะได้ไนโตรเจนมากพอในการที่ย่อยสลายเศษพืช  ท่าให้การย่อยสลาย
                  สารอินทรีย์คาร์บอนก็เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

                          2) เศษวัสดุพืชพวกที่ย่อยได้ยาก ได้แก่ เศษวัสดุพืชที่มีค่า C/N  ratio  สูงมาก ดังตารางที่ 5.4

                  เนื่องจากมีองค์ประกอบของลิกนินค่อนข้างสูง  ซึ่งย่อยสลายได้ยาก เช่น ซังข้าวโพด กากอ้อย ขี้เลื่อย และขุย
                  มะพร้าว เป็นต้น  วัสดุเหล่านี้จะใช้เวลามากในการย่อยสลาย  เพราะกากอ้อยที่มีไนโตรเจนน้อยมาหมัก

                  จุลินทรีย์ย่อมจะได้ไนโตรเจนไม่เพียงพอในการที่ย่อยสลายเศษพืช  ท่าให้การย่อยสลายสารอินทรีย์คาร์บอนก็
                  เกิดขึ้นไม่ทั่วถึง  โดยจุลินทรีย์จะค่อยๆ ย่อยสลายสารอินทรีย์คาร์บอนตามปริมาณไนโตรเจนเท่าที่มีให้ใช้

                  เศษพืชบางชนิด เช่น ใบยูคาลิปตัสจะมีสารประกอบพวกฟีนอลลิกสูงท่าให้ยากต่อการย่อยสลาย  ซึ่งสารฟี
                  นอลลิกจะพบในใบยูคาลิปตัสมากกว่าในใบพืชชนิดอื่นๆ  ดังนั้นในการท่าปุ๋ยหมักอาจจะใช้วัสดุหลายชนิดท่า

                  การหมักร่วมกัน เช่น การท่าปุ๋ยหมักโดยใช้วัสดุที่ย่อยสลายยากพวกฟางข้าวหรือขี้เลื่อยร่วมกับวัสดุเศษพืชสด

                  พวกผักตบชวาหรือหญ้าสด  จากรายงานของ Briones  and  Ineson  (1996)  พบว่า การหมักวัสดุจากใบ
                  ยูคาลิปตัสร่วมกับเศษใบพืชที่ย่อยสลายง่ายพวกใบโอ๊ค จะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายสั้นกว่าการหมักใบ

                  ยูคาลิปตัสอย่างเดียว  โดยมีการปลดปล่อย  CO  เพิ่มขึ้นซึ่งบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการย่อยสลายมีเพิ่มมาก
                                                          2
                  ขึ้น  และมีผลท่าให้การปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในรูปของแอมโมเนียมเพิ่มขึ้นด้วย

                        ค่า C/N ratio ของเศษวัสดุที่เหมาะสมท่าปุ๋ยหมักอยู่ในช่วงประมาณ 25 – 35  ในทางปฏิบัติอาจยอม

                  ให้อยู่ในช่วง 35 – 45  เนื่องจากการย่อยสลายในช่วงแรกเกิดขึ้นรวดเร็ว  เพราะมีสารที่ย่อยสลายง่ายอยู่มาก
                  เป็นเหตุให้ค่า C/N ratio ลดต่่ากว่า 35 อย่างรวดเร็ว  ส่าหรับกระบวนการหมักอินทรียสารที่สลายได้จะแปร

                  สภาพเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้่า  ดังนั้นเมื่อเวลาของการหมักเพิ่มขึ้นปริมาณคาร์บอนในวัสดุจะลดลงแต่
                  ความเข้มข้นของไนโตรเจนกลับเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้ C/N  ratio ลดลง  นอกจากนี้การหมักเศษวัสดุที่มี C/N

                  ratio ต่่ากว่า 25  จะท่าให้ปุ๋ยหมักสูญเสียไนโตรเจนจากการระเหยไปของแอมโมเนีย  แต่ถ้า C/N ratio มาก

                  เกินไปจะท่าให้ได้ปุ๋ยหมักช้า  ส่าหรับตัวชี้วัดมาตรฐานที่ใช้ก่าหนดสภาพของปุ๋ยหมักว่าแปรสภาพได้ดีแล้วจะ
                  มีค่า C/N  ratio ต่่ากว่าหรือเท่ากับ 20:1  ถือว่าสามารถน่าปุ๋ยหมักดังกล่าวไปใช้ใส่ในดินได้โดยไม่ท่าให้พืช

                  เป็นอันตรายและเป็นปุ๋ยหมักมีคุณภาพดี  แต่ในทางปฏิบัติการใช้ปุ๋ยหมักที่ค่า C/N ratio สูงกว่านี้เล็กน้อยก็
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91