Page 85 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 85

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         74


                  สภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยหมักเป็นปัจจัยส่าคัญในการควบคุมกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีผลต่อการอัตราการย่อย

                  สลายของวัสดุ  ส่าหรับปัจจัยของสภาพแวดล้อมดังกล่าวที่มีผลต่อคุณภาพและช่วงเวลาการย่อยสลายวัสดุ
                  เศษพืชในการผลิตปุ๋ยหมักสามารถแบ่งออกได้ดั้งนี้ คือ

                        3.1 ลักษณะของเศษวัสดุ

                            ขนาดของเศษวัสดุ พบว่า การน่ามาท่าปุ๋ยหมักจะมีผลต่อการอุ้มน้่า ความพรุนและการถ่ายเท
                  อากาศ กล่าวคือ วัสดุขนาดใหญ่มีความพรุนสูงและการถ่ายเทอากาศดีกว่ากองวัสดุขนาดเล็กอย่างไรก็ตาม

                  เนื่องจากกิจกรรมจุลินทรีย์ในการสลายตัวของวัสดุแบบใช้อากาศจะเกิดตามผิวของเศษวัสดุ  ซึ่งวัสดุขนาดเล็ก
                  มีการผสมคลุกเคล้าท่าได้ทั่วถึงและมีพื้นที่ผิวสัมผัสมากกว่า  ดังนั้นวัสดุขนาดเล็กจึงมีการย่อยสลายในการ

                  กองเร็วขึ้น  แต่ระหว่างการหมักวัสดุขนาดเล็กอาจเกิดการอัดตัวของวัสดุการถ่ายเทอากาศช้าลง  ท่าให้
                  อากาศในกองปุ๋ยหมักไม่เพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์  จึงท่าให้กระบวนการย่อยสลายวัสดุเศษพืช

                  ของจุลินทรีย์ภายในกองปุ๋ยหมักช้าลง  ส่าหรับแนวทางแก้ไขสามารถท่าได้โดยให้เติมวัสดุที่หยาบ เช่น ขี้เลื่อย

                  ฟางข้าวหรือแกลบดิบ  ส่าหรับวัสดุที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ ฟางข้าว  ทลายปาล์ม และผักตบชวา ที่มีพื้นที่
                  ผิวสัมผัสน้อย  ท่าให้การผสมคลุกเคล้าไม่ทั่วถึงและปฏิบัติค่อนข้างล่าบาก  ส่าหรับแนวทางแก้ไขสามารถท่า

                  ได้โดยการกองเศษวัสดุเป็นชั้นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้จุลินทรีย์สามารถสัมผัสกับเศษวัสดุได้เพิ่มขึ้น  เมื่อถึงเวลา

                  กลับกองปุ๋ยหมักก็จะช่วยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีขึ้น  ด้วยเหตุนี้จึงมีการแนะน่าว่าการใช้ขนาดวัสดุที่มี
                  เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 50 มิลลิเมตร  กองให้มีช่องอากาศ 32 – 38 เปอร์เซ็นต์ และมีความชื้น 52 – 60

                  เปอร์เซ็นต์ จะเป็นสภาพที่เหมาะส่าหรับการย่อยสลายตัวของวัสดุแบบใช้อากาศ  ส่าหรับปริมาณช่องอากาศ
                  อิสระในกองวัสดุ  อาจค่านวณจากความหนาแน่นรวม (bulk density, BD) และความถ่วงจ่าเพาะ (specific

                  gravity, SG) ของวัสดุที่ใช้  ดังนี้
                            ปริมาณช่องอากาศ  = 100(1 –BD/SG) x มวลแห้ง

                            โดยทั่วไปเศษวัสดุที่น่ามาท่าปุ๋ยหมักมีลักษณะที่แห้ง  เนื่องจากสะดวกในการกองและควบคุม

                  สภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยในด้านความชื้นและการระบายอากาศ  บางกรณีอาจใช้เศษวัสดุสดแต่ต้อง
                  ระมัดระวังเกี่ยวกับปริมาณน้่าที่มากและการระบายอากาศไม่ดี  เพราะอาจก่อให้เกิดกระบวนการเน่าเสียใน

                  กองปุ๋ยได้ เช่น การน่าผักตบชวามาท่าปุ๋ยหมัก  ควรน่าผักตบชวามาตากแดดประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้น้่า
                  ระเหยออกจากวัสดุหรือน่าวัสดุอื่น เช่น ฟางข้าวมาผสมในระหว่างการท่าปุ๋ยหมัก  เพื่อเป็นการลดความชื้นใน

                  กองปุ๋ยหมัก (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551; ยงยุทธและคณะ,2551)

                        3.2 องค์ประกอบทางเคมีของเศษวัสดุ
                            สารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจนของเศษวัสดุเป็นสารที่จ่าเป็นต่อการเจริญของจุลินทรีย์  โดย

                  จุลินทรีย์จะย่อยสลายสารอินทรีย์คาร์บอนจนกระทั่งได้โมเลกุลเล็กและน่าเข้าในเซลล์  เพื่อใช้เป็นแหล่งของ
                  พลังงานและแหล่งของคาร์บอนที่จุลินทรีย์ใช้เป็นหลักในการเจริญเติบโต  ส่าหรับสารประกอบไนโตรเจนจะ

                  ถูกย่อยสลายเช่นกัน  และเซลล์จุลินทรีย์จะน่าไปใช้เป็นแหล่งไนโตรเจน  เพื่อสร้างส่วนประกอบของเซลล์ที่

                  ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนและกรดนิวคลีอิคซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ  โดยปกติเซลล์ของจุลินทรีย์มีค่า
                  อัตราส่วนของสารประกอบคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ประมาณ 10 – 15  ซึ่งหมายความว่าการที่

                  จุลินทรีย์ดูดสารอินทรีย์คาร์บอนเข้าไปใช้ในเซลล์ 10 – 15 หน่วย จ่าเป็นต้องดูดสารประกอบไนโตรเจนเข้า
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90