Page 84 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 84

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         73


                  ปาล์มและกากตะกอนน้่าทิ้งต่างๆ  จากรายงานพิทยากรและคณะ (2541) พบว่า ปริมาณวัสดุเหลือใช้จาก

                  โรงงานอุตสาหกรรมในภาคต่างๆ ของประเทศไทย ดังตารางที่ 5.2

                  ตารางที่ 5.2 ปริมาณวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมในภาคต่างๆ ของประเทศไทย (ล้านตันต่อปี)


                     ชนิดพืช        ภาคเหนือ     ภาคตะวันออก  ภาคกลางและ           ภาคใต้      รวมทั้งประเทศ

                                                   เฉียงเหนือ   ภาคตะวันออก


                  กากอ้อย             3.26           4.31            5.96           0.00          13.53

                  แกลบ                0.30           1.42            1.36           0.08           3.16


                  ซังข้าวโพด          0.05           0.08            1.06          0.068          1.258

                  ขี้เลื่อย           0.10           0.07            0.85           0.41           1.43

                  มันส่าปะหลัง        0.57           3.04            0.89           0.00           4.50



                  ที่มา: พิทยากรและคณะ (2541)

                         2.3 วัสดุเหลือใช้จากบ้านเรือน  ในเขตชุมชนที่มีประชากรอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นมักมีปัญหาใน
                  เรื่องขยะมูลฝอย  กรมควบคุมมลพิษได้สรุปสถานการณ์ในปี 2556 ว่า ผลส่ารวจปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่

                  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 7,782 แห่ง พบว่ามีขยะมูลฝอยราว 26.77 ล้านตัน  ซึ่งเพิ่มจากปี

                  2555  ถึง 2  ล้านตัน  ซึ่งก่าจัดแบบถูกต้อง 7.2  ล้านตันและก่าจัดไม่ถูกต้อง 6.9  ล้านตัน  โดยมีขยะที่ได้น่า
                  กลับมาใช้ประโยชน์ 5.1ล้านตัน  จึงมีขยะตกค้างอีก 7.6  ล้านตัน  ขณะที่ประเทศไทยมีสถานที่ก่าจัดขยะ

                  ทั้งหมด 2,490 แห่ง  เป็นสถานที่ก่าจัดขยะแบบถูกต้องเพียง 466 แห่ง  ยังคงมีสถานที่ก่าจัดแบบไม่ถูกต้อง
                  เช่น การเททิ้งกลางแจ้ง  เผาในที่โล่งอยู่ถึง 2,024 แห่ง  ท่าให้ขยะมูลฝอยสะสมทั้งประเทศมีสูงถึง 19.9 ล้าน

                  ตัน  ทั้งนี้แนวโน้มปริมาณขยะจากชุมชนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  โดยในปี 2556 แต่ละคนมีส่วนท่าให้เกิดขยะมาก

                  ถึง 1.15 กก./คน/วัน  สาเหตุหลักของปัญหา คือ ขาดระบบการจัดการที่ดีตั้งแต่ต้นทางและขาดการมีส่วน
                  ร่วมรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชนตั้งแต่จุดเริ่มต้นของขยะในครัวเรือน (ส่านักจัดการกากของเสียและสาร

                  อันตราย, 2557)  ดังนั้นถ้าประชาชนมีการน่าเศษขยะจากครัวเรือน  รวมทั้งใบไม้ เศษหญ้าและมูลสัตว์เลี้ยง
                  มาเป็นวัสดุท่าปุ๋ยหมัก  นอกจากได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้แล้ว  ยังช่วยลดปริมาณขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะด้วย

                         2.4 วัชพืช  นอกจากวัสดุเหลือใช้ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวข้างต้น  ยังมีวัชพืชบกและวัชพืชน้่าหลาย

                  ชนิดที่สามารถน่ามาท่าปุ๋ยหมักได้ เช่น หญ้ายาง หญ้าดอกขาว ต้นกกชนิดต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                  ผักตบชวาที่ก่อให้เกิดปัญหาการขีดขวางทางน้่า  ส่งเกิดผลกระทบต่อการเดินเรือในแม่น้่า ล่าคลอง  ดังนั้น

                  การน่าผักตบชวามาท่าปุ๋ยหมักจึงนับว่าเป็นแนวทางในการก่าจัดที่ดี

                  3. ปัจจัยที่ควบคุมอัตราการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมัก

                        กระบวนการย่อยสลายวัสดุเศษพืชภายในกองปุ๋ยหมักนั้นเกิดขึ้นโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดังนั้น

                  สภาพแวดล้อมในกองปุ๋ยหมัก  จึงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมหรือลดอัตราการย่อยสลายวัสดุเศษพืชนั้น  เพราะ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89