Page 81 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 81

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         70


                  2 – 3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร  ดังนั้น พื้นที่เกษตรกรสามารถปลูกผักได้ คือ 3.28 – 4.92 ไร่  จึงมีความ

                  เหมาะสมที่สุด เพราะปริมาณปุ๋ยคอกเพียงพอกับความต้องการของพืชที่ปลูก
                         2. ความมีเหตุผล หมายถึง ต้องมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของปุ๋ยคอกว่าชนิดไหนมีธาตุอาหารอย่างไร

                  เพราะปุ๋ยคอกแต่ละชนิดจะมีปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน  ดังรายงานของ Brady and Well (2002) ว่า

                  มูลไก่จะมีปริมาณธาตุอาหารหลักมากกว่ามูลโคนม โคเนื้อ และสุกร  ดังนั้น การใช้มูลไก่กับพืชจะใช้ใน
                  ปริมาณที่น้อยกว่ามูลโคนม โคเนื้อและสุกร  ซึ่งสามารถจะวางแผนการใช้ชนิดของปุ๋ยคอกให้มีความเหมาะสม

                  กับพืชที่ปลูก  นอกจากนี้พบว่ามูลค้างคาวมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสสูงถึง 14.82 เปอร์เซ็นต์ (ส่านัก
                  เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)  ดังนั้น สามารถน่าไปใช้เป็นปุ๋ยฟอสฟอรัสให้แก่พืชได้

                         3. การสร้างภูมิคุ้มกัน หมายถึง โดยมีการวางแผนการผลิตปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ ที่ต้องการใช้ในระบบ
                  การเกษตรให้เพียงพอกับความต้องการกับพืชที่ปลูกในปีต่อไป ได้แก่ การวางแผนในการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ

                  ตามความสามารถ  เพื่อให้ได้ปุ๋ยคอกในปริมาณเพียงพอที่ใช้ในปีต่อไป  และถ้ามีปุ๋ยคอกจ่านวนมากควรมีการ

                  เก็บรักษาในที่ร่มหรือเก็บในหลุมดินหรือหลุมคอนกรีตเพื่อรักษาคุณภาพของปุ๋ยคอก  นอกจากนี้การน่ามูล
                  สัตว์มาหมักและเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช  จะท่าให้ได้ปุ๋ยคอกที่มีคุณภาพและน่ามาซึ่งผลประโยชน์ใน

                  ระยะยาวและความสุขที่ยั่งยืน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบการใช้ปุ๋ยคอกในอนาคต
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86