Page 80 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         69


                        6.2  เก็บในหลุมดิน  ขุดหลุมใกล้ๆ บริเวณที่จะใส่ปุ๋ยให้หลุมลึกประมาณ 5 – 6  ฟุต  ควรเลือกขุด

                  บริเวณที่เป็นดินเหนียวเพราะจะช่วยเก็บน้่าไว้ได้ดีใส่ปุ๋ยคอกลงไปในหลุม  พยายามรักษาความชื้นให้มากอยู่
                  เสมอ  ถ้าเป็นในฤดูฝนอาจไม่จ่าเป็นเพราะมีฝนตก  น้่าจะไหลลงไปในหลุมอย่างเพียงพอ  ถ้าจ่าเป็นต้องกอง

                  ปุ๋ยสูงกว่าปากหลุมขึ้นไปก็อาจท่าได้  แต่ไม่ควรสูงมากเกินไป  ถ้าสูงมากเกินไปจะท่าให้ส่วนบนของปุ๋ยสูญเสีย

                  ได้ง่ายเช่นเดียวกัน  การที่รักษาให้ปุ๋ยคอกมีน้่าหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ  จะเป็นการช่วยลดการสูญเสียอินทรียวัตถุ
                  ได้เป็นอย่างมาก  ทั้งนี้เพราะส่วนที่เป็นของแข็งของปุ๋ยคอกจะตกตะกอนติดกันเป็นแผ่นอยู่ใต้หลุมและสวนที่

                  เป็นน้่าชั้นบนของหลุม  จะช่วยป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้เป็นการลดกิจกรรมของจุลินทรีย์  การเก็บรักษา
                  วิธีนี้อาจมีการสูญเสียได้บ้าง เช่น การสูญเสียเนื่องจากการซึม  แต่ถ้าเลือกบริเวณท่าหลุมได้เหมาะสมการ

                  สูญเสียโดยการซึมจะน้อยลง  การสูญเสียในรูปแอมโมเนียเกิดขึ้นได้บ้าง  แต่ถ้ารักษาความชื้นให้สูงอยู่เสมอ
                  แอมโมเนียที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะละลายอยู่ในน้่า  และถ้าใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟตลงไปบ้างแอมโมเนียก็จะ

                  รวมกับซัลเฟสที่มีอยู่ซุปเปอร์ฟอสเฟตเป็นแอมโมเนียซัลฟอส  ซึ่งสูญเสียได้ยากขึ้น

                        6.3 เก็บในหลุมคอนกรีตหรือหลุมป้องกันการซึมของน้ํา  การเก็บปุ๋ยคอกนั้นถ้าสามารถท่าหลุมหรือ
                  บ่อคอนกรีตส่าหรับเก็บได้  ก็จะช่วยลดการสูญเสียได้มากและสามารถเก็บปุ๋ยไว้ได้นาน  ด้วยเหตุที่กล่าวไว้

                  แล้วในข้อ 2

                             ดังนั้น เกษตรกรสามารถเลือกวิธีเก็บรักษาได้  แล้วแต่ความเหมาะสมของเกษตรกรแต่ละราย
                  แต่วิธีที่สะดวกและนิยมใช้ คือ วิธีการเก็บปุ๋ยคอกในโรงเก็บ  ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกต่อการเก็บและการน่าไปใช้

                  (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                  7. ข้อคํานึงในการใช้ปุ๋ยคอก

                        7.1 ไม่ควรน่าไปใช้ในพื้นที่ที่ไกลไปจากแหล่งผลิต

                        7.2 อย่าน่าปุ๋ยไปผึ่งแดดเพราะจะสูญเสียธาตุไนโตรเจนโดยการระเหิด
                        7.3 เก็บรักษาไว้ให้แห้งในที่ร่มและใช้ปุ๋ยในสภาพแห้ง

                        7.4 ใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินชื้นพอเหมาะและไถดินกลบปุ๋ยทันที
                        7.5 อย่าใส่ปุ๋ยใกล้กับบริเวณที่ปลูกพืช และควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ


                  8. การใช้ปุ๋ยคอกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                         การใช้ปุ๋ยคอกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลัก 3 ประการที่ต้องยึดถือ คือ
                         1. ความพอประมาณ  หมายถึง การใช้ปุ๋ยคอกที่มีอยู่เป็นทุนเดิมของตนเองก่อนแสวงหาปุ๋ยคอกจาก

                  ภายนอก  ดังนั้นเกษตรกรควรมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย หมูหลุม และไก่  เพื่อใช้มูลของสัตว์ที่ขับถ่ายและ
                  สะสมอยู่ตามพื้นคอกรวมทั้งวัสดุรองพื้นคอกเป็นแหล่งของปุ๋ยคอกของตนเอง  เป็นการลดการพึ่งพาปุ๋ยคอก

                  จากภายนอก  โดยการใช้ปุ๋ยคอกต้องค่านึงถึงปริมาณของปุ๋ยคอกที่เกษตรกรมีอยู่  เพราะเมื่อน่าปุ๋ยคอกไปใช้

                  ในพื้นที่จะมีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพืชที่ปลูก เช่น เกษตรกรเลี้ยงโคขุน 10 ตัว จะได้มูลโค
                  แห้ง 10.5 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน (ส่านักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, 2548ข)  ถ้าเลี้ยงโคเป็นเวลา

                  5 เดือน จะมีมูลโคแห้ง 15,750 กิโลกรัม  และจากอรสา (2551) รายงานว่า การปลูกผักควรใส่ปุ๋ยคอกอัตรา
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85